ตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมากับแนวทางการอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์

Main Article Content

การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมตึกแถวในย่านการค้าเมืองเก่า นครราชสีมา ประเมินคุณค่าและเสนอแนวทางการอนุรักษ์โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับย่านในแต่ละด้าน  สำรวจตึกแถวเพื่อคัดเลือกอาคารกรณีศึกษาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และสัมภาษณ์เจ้าของ อาคาร จากนั้นจึงจัดทำเป็นแบบสถาปัตยกรรม วิเคราะห์การวางผัง การจัดพื้นที่ใช้สอย องค์ประกอบ  วัสดุ โครงสร้าง และจำแนกรูปแบบตามยุคสมัย ประเมินคุณค่าพร้อมเสนอแนวทางการอนุรักษ์เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์ผลการศึกษาพบว่าตึกแถวภายในย่านเป็นมรดกสถาปัตยกรรม ที่มีคุณค่าทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ด้านภูมิทัศน์ ด้านการศึกษา ด้านประวัติศาสตร์และ ศิลปะวัฒนธรรม อาคารเหล่านั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะท้อนรูปแบบของแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ ในการนำเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารและวิถีชีวิตดั้งเดิมภายในย่านการค้าเก่าที่เจริญรุ่งเรืองมาเป็นจุดขาย อีกทั้งอาคารแต่ละหลังตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อกับศาสนาคารและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวโดยการเดินชมเมืองได้ การอนุรักษ์ตึกแถวภายในย่าน  มี5 แนวทาง ได้แก่1) การสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ 2) การให้ ความรู้กับเจ้าของอาคารเกี่ยวกับการอนุรักษ์เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม ป้องกันการเสื่อมสภาพและ เสริมความมั่งคง 3) การสร้างทางเลือกในการอนุรักษ์ โดยการปรับเปลี่ยนการใช้งานอย่างเหมาะสม  4) การกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์จากหน่วยงานราชการ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบสวยงาม  ส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นย่านการค้าเก่า 5) การส่งเสริมให้อาคารเก่าภายในย่านเป็นส่วนหนึ่ง  ของกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อให้อาคารถูกเก็บรักษาได้อย่างมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชดา ร่มไทรย์. (2550). การใช้ลักษณะพื้นถิ่นบนอาคารตึกแถวในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่จากการรับรู้ของประชาชน. [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทศบาลนครนครราชสีมา. (2548). บันทึกเจ็ดสิบปีที่โคราช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงาน.

ไทยวัฒนาพานิช. (2541). นิราศหนองคาย ของ หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์). (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์ และนิตยา พัดเกาะ. (2553). รายงานการวิจัย การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมืองเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเมืองเก่าสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลอีสาน.

ปรานอม ตันสุขานันท์. (2559). การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด, บจก. (2566). ประวัติปูนซีเมนต์. http://drive.google.com/file/d/1HiTwiRh1Er73h

รังสิมา กุลพัฒน์, จิตรมณี ดีอุดมจันทร์ และมาริสา หิรัญตียะกุล. (2562). เมืองนครราชสีมา: การศึกษาเมืองเก่าผ่านประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานและมรดกทางสถาปัตยกรรม. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 16(1), 62-101.

วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, สุจิณณา พานิชกุล และปัทมา จันทรวิโรจน์. (2547). รายงานการวิจัย เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา. (2542). ย้อนรอย ๑๐๐ ปี โคราชวาณิช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ฟิวเจอร์ เพรส แอนด์ มีเดีย.

Faifo Oldtown Cafe and Floral. (2566, 19 ตุลาคม). บรรยากาศของวันนี้.

https://www.facebook.com/faifooldtowncafe/photos/pb.100023091618413.-2207520000/402350421637241/?type=3