การพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Main Article Content

ชานนท์ ตันประวัติ
ศรัณยู สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG โดยชุมชนพื้นที่วิจัยมีพื้นฐานในการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ซึ่งสามารถถอดความรู้สู่ชุมชนอื่นๆ ได้ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และวางแนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อทดลองส่วนผสมวัสดุสำหรับใช้ในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดจากวัตถุดิบในชุมชนพื้นที่วิจัย 3 ) เพื่อทดสอบ วิเคราะห์ และสรุปผลแผ่นชิ้นไม้อัดที่พัฒนาในโครงการ


วิธีการศึกษา ใช้วิธีการลงพื้นที่ชุมชน เก็บข้อมูลและสรุปประเด็นเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืนและนำแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไปสู่การทดลองส่วนผสมของวัตถุดิบ เพื่อสร้างสีและพื้นผิวของแผ่นชิ้นไม้อัดโดยใช้แผนการทดลองส่วนผสมแบบเส้นตรง จำนวน 20 สูตร จากนั้นนำแผ่นชิ้นไม้อัดที่ได้ไปทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติและทดลองใช้งานในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง


ผลการทดลอง พบว่า 1) แนวทางในการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดสำหรับชุมชนอย่างยั่งยืน สามารถใช้กำหนดเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์สำหรับชุมชนต่างๆ 2) วัตถุดิบที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ผงถ่านใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุได้ไม่เกิน 10 % กากกาแฟสามารถใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้เกิดสีและค่าน้ำหนักในแผ่นชิ้นไม้อัดได้ไม่เกิน 70 % ของน้ำหนักวัตถุดิบรวม แผ่นชิ้นไม้อัดที่พัฒนาในโครงการจำนวน 8 ตัวอย่าง มีค่าความหนาแน่น ค่าความชื้น ค่าการพองตัวตามความหนา ค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และ 3) สามารถนำแผ่นชิ้นไม้อัดไปสร้างสรรค์เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้ได้


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2556, 30 เมษายน). นวัตกรรมการผลิตแผ่นลามิเนตจากเศษไม้เหลือใช้จากขบวนการผลิต. คลังความรู้ Cluster. https://www.dip.go.th/files/Cluster/10.pdf

ณัชธกาภรณ์ จรัญจารุพัฒน์ และ สาลินี อาจารีย์ (2561). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร . วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 1-8.

ทศพร โพธิ์เนียม. (2559). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากต้นธูปฤาษีและการประยุกต์ใช้สำหรับงานประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th /dspace/bitstream/123456789/2956/1/RMUTT-154583.pdf.

นรีนุช ดำรงชัย. (2561) แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชนไทยภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสุโขทัย

ธรรมาธิราช, 31(1), 92-107.

พนุชศดี เย็นใจ, ทรงกลด จารุสมบัติ และ ธีระ วีณิน. (2559). การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษเหลือทิ้งของไม้เสม็ดขาว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 131-140.

ภาวดี เมธะคานนท์, วรธรรม อุ่นจิตติชัย, วริญญา โลมรัตน์ และ ภัทราภรณ์ นภาชัยเทพ. (2549). รายงานผลการวิจัยประจำปี 2549 การศึกษาคุณสมบัติของแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดที่ผลิตจากเศษไม้ยูคาลิปตัสด้วยกาวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้, 309-319.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. https://dictionary.orst.go.th/.

วนารัตน์ กรอิสรานุกูล, นวลวรรณ ทวยเจริญ และ สุญาดา โสรธร. (2562). การพัฒนาแผ่นไม้ปาร์ติเกิลจากแกนกัญชงเพื่อเป็นผนังตกแต่งภายในอาคาร. วารสารวิชาการ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในอาคาร, 2(3), 78-96.

วรธรรม อุ่นจิตติชัย, ลัดดาวัลย์ ชื่นอารมย์. (2551). รายงานผลการวิจัย ประจำปี พ.ศ.2551การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นปาติเกิลบอร์ดจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซีส. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ , 361-376.

ศักดิ์กษิดิฎ บุญรัตนกิตติภูมิ. (2557). การเพิ่มความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนใน

ประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(1),108-124.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ มอก.876-2547. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

Muruganandam, L., Ranjitha, J., & Harshavardhan, A. (2016). A Review Report on Physical and Mechanical Properties of Particle Boards from organic Waste. International Journal of ChemTech Research, 9(1). 64-72.