การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับถมเงินนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

เรวัต สุขสิกาญจน์
เจษฎา สุขสิกาญจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับถมเงินนคร ให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายใหม่จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่  มีรูปแบบที่ร่วมสมัยและจัดจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนกลุ่มนครหัตถกรรม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการเริ่มตั้งแต่ศึกษารูปแบบดั้งเดิมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนารูปแบบใหม่ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาร่วมกับชุมชน วางแผนดำเนินการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปฏิบัติการออกแบบ ผลิตต้นแบบเครื่องประดับถมเงินนครและผลิตซ้ำเพื่อจัดจำหน่าย  ผลการวิจัยพบว่าชุมชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่ร่วมสมัยเพื่อขยายฐานของผู้บริโภคให้กว้างขึ้น  มีผู้เข้าร่วมดำเนินการพัฒนารูปแบบ จำนวน 20 คน สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกแบบ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบแปลกใหม่ สวยงาม มีขนาดที่เหมาะสม ผลิตได้ง่ายในเชิงช่าง ราคาไม่แพง และยังคงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์มี 2 กิจกรรม  ได้แรงบันดาลใจและแนวคิดการออกแบบมาจากหยดน้ำ และ นครสองธรรม ออกแบบเป็นชุดเครื่องประดับ ประกอบด้วย สร้อยคอและจี้ แหวน กำไลหรือสร้อยข้อมือ และต่างหู  ทดลองผลิตต้นแบบด้วยกรรมวิธีเชิงช่าง และแบบสมัยใหม่ด้วยการหล่อเหวี่ยง ระดับความพึงพอใจในผลงานมีค่าเฉลี่ยรวม 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยรวม 0.548 ประโยชน์ที่ได้รับครั้งนี้ ชุมชนผู้ผลิตมีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์เครื่องประดับถมเงินนคร  ให้มีความแปลกใหม่จากที่ทำแต่รูปแบบเดิม  รูปแบบที่ได้รับการพัฒนาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค เกิดการทำงานเป็นทีม เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ต้นแบบผลิตภัณฑ์สามารถผลิตซ้ำและนำไปจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ นกแก้ว และ ชินกร จิรขจรจริตกุล. (2565). ภูมิปัญญาท้องถิ่นตาลโตนดของชุมชนตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(4), 29-41.

เจษฎา ทองสุข. (2563). การออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผาผ่านแนวความคิด ลวดลายลูกไม้ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(1), 122-237.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิต แสงโคมคำ, 5(2), 313-331.

ณิชกานต์ ไชยจักร์ และ อติเทพ แจ้ดนาลาว. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึกด้วยศิลปะทวารวดี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(4), 15-28.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาในการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2551). การวิจัยปฏิบัติการ. อุบลราชธานี: บริษัท ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.

บุหงา ชัยสุวรรณ, อลิษา ดาโอ๊ะ, ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร และ มินตรา วิสารทพงศ์. (2565). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของชุมชนเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสุโขทัยธรรมมาธิราช, 35(2), 63-85.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม: แนวคิด รูปแบบ และการวิเคราะห์.กรุงเทพฯ: อันลิมิต พริ้นติ้ง.

พรพรรณ ทัศนพานนท์. (2565). การบริหารราชการแบบบูรณาการในการพัฒนาหัตถกรรมดั้งเดิมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.

พอหทัย ซุ่นสั้น. (2564). การออกแบบลายผ้ามัดย้อมและพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 284-301.

ยงยุทธิ์ ผันแปรจิตร์.(2554). การศึกษาและพัฒนาเครื่องถมจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการออกแบบเครื่องประดับที่ทำจากโลหะผสม. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรชัย รวบรวมเลิศ และคณะ (2562). รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับสร้างสรรค์จากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.

วรรณดี สุทธินรากร. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2553). รายงานการวิจัย ศิลปหัตถกรรม เครื่องเงินเมืองนครศรีธรรมราช เครื่องเงินเมืองสุรินทร์ และเครื่องเงินเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

อดิศร หนันคำจร. (2565). การสร้างชุมชนนวัตวิถีด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 2(1), 35-46.

อรยา แจ่มใจ, พนิดา ศกุนตนาค และ อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2564). การศึกษาปรากฏการณ์การถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 156-174.

อรอุมา วิชัยกุุล และสุภาวี ศิรินคราภรณ์ (2564).การพัฒนารูปลักษณ์วัสดุเพื่องานเครื่องประดับสานต่อความพอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(3), 25-36.

อุไรวรรณ ทองแกมแก้ว. (2552). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นเพื่อเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ผงซักฟอก และกิจกรรมนันทนาการ. คณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.

Calder, J., & Foletta, J. (2018). (Participatory) action research : Principles, approaches and applications. Nova Science.

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2017). Research design: Qualitative, quantitative,and mixed methods approaches. Sage publications.

Kara, H. (2017).Identity and power in co-produced activist research. Qualitative Research, 17(3), 289–301.

Speedlin, S., Haberstroh, S., Townsend, C., Prasath, P. & McVay, K. (2022). Participatory Action Research: Strategies for Implementation in Counseling Outcome Research, Journal of Professional Counseling: Practice, Theory & Research, 49(1), 21-33.

Triyanto, Syakir, & Mujiyono. (2019). Arts Education Within The Mayong Pottery Artisan Families: A Local Art Conservation Strategy. Harmonia: Journal of Arts Research and Education, 19(2), 152-162.

Weinstein, A. (2020). Creating Superior Customer Value in the Now Economy. Journal of Creating Value, 6(5), 20-33.