การศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียครัวเรือน

Main Article Content

พิทักษ์พงศ์ แบ่งทิศ
รมย์ชลีรดา ด่านวันดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อออกแบบภูมิทัศน์บ้านที่เหมาะสมสำหรับการบำบัดน้ำเสียครัวเรือน และเสนอแนวทางการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียครัวเรือนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงพื้นที่ศึกษา 2 แห่ง ใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์เจ้าของบ้านแบบไม่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเมินศักยภาพพื้นที่ด้วยสมการถ่วงน้ำหนัก(simple weighting scores equations) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการบรรยายประกอบภาพเชิงพรรณนา จากผลการประเมินศักยภาพพื้นที่ พบว่า ค่าศักยภาพของแปลงที่ 1 เท่ากับ 3.43 และแปลงที่2 เท่ากับ 3.27 ระดับศักยภาพปานกลาง ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพเป็นภูมิทัศน์ชนบททั่วไปที่มีการปล่อยน้ำทิ้งครัวเรือนตามธรรมชาติ โดยกระบวนการออกแบบพิจารณาจาก 4 ปัจจัยหลัก และ 22 ตัวชี้วัด และมีตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของทั้ง 2 พื้นที่ ได้แก่ การจัดการพลังงาน (มีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อลดของเสีย, ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า หรือนำพลังงานธรรมชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับแปลงที่ 1 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.67 และแปลงที่ 2 เท่ากับ 6.67 และปัจจัยระบบป้องกันของเสียหรือป้องกันมลภาวะในพื้นที่ แปลงที่ 1 ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.67 และแปลงที่ 2 เท่ากับ 8.33 จากผลลัพธ์เหล่านี้ จึงได้เสนอแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์สำหรับบำบัดน้ำเสียครัวเรือนตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ได้เป็น 2 รูปแบบ ในแบบที่ 1 แบบบึงประดิษฐ์น้ำอยู่เหนือผิวดิน(free water surface, FWS)ผสมผสานกับระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณบำบัดน้ำเสียรวม(bioretention management practice (BMP) หรือ FWS+BMP) เหมาะกับบ้านที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และแบบที่ 2 แบบแทรกซึม (infiltration),กรอง (filtration), เติมใหม่ (recharge) หรือแบบ IFR  นำมาผสมผสานกับระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณบำบัดน้ำเสียรวม หรือ IFR+BMP ก่อนปล่อยสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). คู่มือระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. สํานักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม https://www.pcd.go.th/publication/4241

ดารณี ด่านวันดี, มุจลินทร์ ผลจันทร์, พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ และ ศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์. (2555). การพัฒนาระบบการลดมลพิษ-กักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.

นภวรรณ ฐานะกาญจน์, วันชัย อรุณประภารัตน์, นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, รติกร น่วมภักดี, ธีระพงษ์ ชุมแสงศรี, เสาวนีย์ สารเนตร, นิทัศน์ นุ่นสง, อุษารดี ภู่มาลี, ภัทรณัฐ วงศ์อินทร์, แสงจันทร์ วายทุกข์, เวทิต พุ่มพวง. (2549). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ระยะที่ 1. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว)

ปิยธิดา ศรีพล รัชดา ภักดียิ่ง, พรสวรรค์ ชัยมีแรง, รุ่งนภา กิตติลาภ และ อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์. (2563). แนวทางการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 124. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/ article/view /243023

พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ, ดารณี ด่านวันดี และ ศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์. (2554). รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการลดมลพิษ-กักเก็บน้ำด้วยการใช้พืชพรรณ เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน. สำนักวิจัย และส่งเสริมวิชาการ การเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.

มุจลินทร์ ผลจันทร์, ดารณี ด่านวันดี และ เยาวนิตย์ ธาราฉาย. (2556). การศึกษาประสิทธิภาพของพืชพรรณทางงานภูมิทัศน์ในการลดมลพิษทางน้ำในระบบการกักเก็บน้ำทางชีวภาพ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รมย์ชลีรดา ด่านวันดี, มุจลินทร์ ผลจันทร์, พิทักษ์พงศ์ แบ่งทิศ. (2560, 7-8 ธันวาคม). การศึกษารูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชเพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน. การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ISBN 978-616-8146-01-9

สามารถ ใจเตี้ย และ พัฒนา บุญญประภา. (2562). ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากปัญหาคุณภาพน้ำและข้อเสนอแนะ กิจกรรมการเฝ้าระวัง กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสาร มฉก วิชาการ, 23(1), 34-35. https://he01.tci-thaijo.org /index.php /HCUJO URNAL/article/view/146481

สำนักงานบริหารโครงการ กรมชลประทาน. (2559, 18 มกราคม). การจัดการน้ำเสียครัวเรือนอย่างง่ายด้วยบึงประดิษฐ์. http://oopm.rid.go.th/subordinate/ opm11/report /2556/wetland.aspx

ส่วนน้ำเสียชุมชนสำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. (2555, สิงหาคม). คู่มือการจัดการน้ำเสียสำหรับบ้านเรือน. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-20_04-16-24_020770.pdf

Environmental Services Division. (2007). Bioretention Manual. Department of Environmental Resources the Prince George’s Country, Maryland. Revised December, 24-28. https://www.slideshare.net/slideshow/md-prince-georges-county-bioretention-manual/7878847#2

Prince George’s County Department of Environmental Resources (PGCDER). (1993). Design Manual for Use of Bioretention in Stormwater Management. Division of Environmental Management, Watershed Protection Branch, Landover, MD.

United States Department of the Interior, National Park Service. (1993). Guiding Principles of Sustainable Design. Denver service, Washington DC. 117.