การศึกษาเชิงพื้นที่ภายในโรงงานหัตถกรรมชุมชน เครื่องเรือนหวายและผักตบชวา บ้านวังไผ่ ตำบลลาดพัฒนา จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

Warakul Tantanatewin
Rangsit Tunsukee

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและสภาพแวดล้อมในการจัดองค์ประกอบเชิงพื้นที่ภายในโรงงานหัตถกรรมระดับชุมชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ที่สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเรือนหวายและผักตบชวา บ้านวังไผ่ ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงาน แบบสำรวจ การถ่ายภาพ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงพื้นที่ ในด้านขนาดพื้นที่ รูปแบบการใช้สอยในพื้นที่ และความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จากการศึกษา พบว่ารูปแบบพื้นที่ในการผลิตเครื่องเรือนหวาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามกระบวนการผลิต ได้แก่ 1) พื้นที่เตรียมวัสดุ 2) พื้นที่ผลิตชิ้นงาน และ 3) พื้นที่จัดแสดงสินค้า ประกอบด้วย พื้นที่ลานตากหวาย พื้นที่อบไอน้ำ พื้นที่เก็บอุปกรณ์และวัตถุดิบ พื้นที่ขึ้นโครงเครื่องเรือนหวาย พื้นที่สานโครงหวาย และพื้นที่เก็บเครื่องเรือนหวายที่ทำเสร็จ พื้นที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับการเข้าถึง กระบวนการผลิตเครื่องเรือน พฤติกรรม และอุปกรณ์ประกอบ จึงจัดทำเป็นข้อมูลชุมชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงงานหัตถกรรมชุมชน ที่สามารถเรียนรู้กระบวนการผลิตเครื่องเรือนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). ผักตบชวาสู่การออกแบบเครื่องเรือน. ศิลปกรรมสาร. 7(1), 1-20.

นิลุบล สุวัฒนา, รังสิทธิ์ ตันสุขี, สันทนา ภิรมย์เกียรติ และปัทมา วงศ์สีดา. (2555). โครงการออกแบบศูนย์แสดงสินค้าเครื่องเรือนหวายและผักตบชวา บ้านวังไผ่ ตำบลบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญสนอง รัตนสุนทรากุล และ ภาสิต ลีนิวา. (2010). การศึกษาวิจัยเพื่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ังสิทธิ์ ตันสุขี, วิวัฒน์ วอทอง, วรากุล ตันทนะเทวินทร์, ทศพล เถาว์ทิพย์, ศรัทธาชาติ ศรีสังข์, จตุรงค์ ประเสริฐสังข์, ปาริชาติ ศรีสนาม, กัญจน์ชญา จันทรังษี และณัฐวัฒน์ จิตศิลป์ (2562). โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเรือนหวายและผักตบชวา บ้านวังไผ่ ตำบลบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิกรม วงษ์สุวรรณ์. (2557). วัสดุและกรรมวิธีการผลิตสำหรับงานออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิมลสิทธ์ หรยางกูร. (2558). การจัดทำรายละเอียดโครงการงานสถาปัตยกรรมเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. เจ.บี.พี.เซ็นเตอร์.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาคร ชลสาคร. (2560). เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากพืช เล่มที่ 1 การปรับปรุงคุณภาพเส้นใยกรุงเทพฯ : หจก.พรี-วัน 50.

สืบสาย แสงวชิระภิบาล และ กิติศักดิ์ เยาวนานนท์. (2565). การออกแบบภายในพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2 กรณีศึกษา: สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทีทัศน์วัฒนธรรม. 21(1), 113-143.

Herbert Van Hoogdalem, Theo J.M. Van Der Voordt, Herman B.R. Van Wegen. (1984). Comparative Floorplan-Analysis As A Means to Develop Design Guideline. Centre of Architectural Research, Delft University of technology, Department of Architecture.

Top 10 Characteristics or Features of a good layout. https://accountlearning.com/top-10-characteristics-or-features-of-a-good-layout/

ออนไลน์

องค์การบริหารส่วนตำบลลาดพัฒนา. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. https://www.ladpattana.go.th/plan/

local/content/46