คุณสมบัติเชิงกลของเสาและคานไม้ประกอบจากไผ่ซางหม่น

Main Article Content

ศุภชัย สินถาวร
เกษราภรณ์ พานะดร
ชลดา อ่อนนุ่ม

บทคัดย่อ

เสาและคานไม้ประกอบจากไผ่ซางหม่น ถูกทดสอบคุณสมบัติเชิงกลการต้านทานแรงอัดตามแนวแกน และการต้านทานแรงดัด ลักษณะไม้ไผ่ประกอบใช้การเรียงไม้ไผ่แบบสลับและอัดกาว ตัวอย่างที่ใช้การต้านทานแรงตามแนวแกนของเสาไม้ไผ่ซางหม่นประกอบที่มีขนาดหน้าตัด 3 แบบ โดยใช้ความสูงต่อความกว้างเท่ากับ 2 มีขนาดดังนี้ 10 x 10 ซม. สูง 20 ซม., ขนาด 12.5 x 12.5 ซม. สูง 25 ซม. และขนาด 15 x 15 ซม. สูง 30 ซม. และสำหรับการทดสอบการต้านทานแรงดัดของคานไม้ไผ่ประกอบที่มีขนาดความกว้าง 5 ซม. ยาว 120 ซม. โดยทดสอบที่ 3 ความลึก ได้แก่ 15, 20 และ 25 ซม. จากการศึกษาเสาไม้ไผ่ซางหม่นประกอบ พบว่าเมื่อเสาขนาดที่มีอัตราส่วนความสูงต่อความกว้างที่เท่ากัน เมื่อหน้าตัดที่เพิ่มขึ้น ค่าหน่วยแรงอัดตามแนวแกน ณ ขีดปฏิภาคเพิ่มขึ้น สำหรับ คานไม้ไผ่ซางประกอบความลึกน้อยรับกำลังได้มากกว่า ทั้งนี้พบว่าเสาไม้ไผ่ประกอบมีกำลังสูงกว่าไม้เนื้ออ่อน ขณะที่คานไม้ไผ่ประกอบมีกำลังต่ำกว่าไม้เนื้ออ่อน จากการวิบัติของคานและเสาประกอบจากไม้ไผ่ซางหมน วิบัติเนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวของกาว โดยมีค่าแรงเฉือนเฉลี่ยเท่ากับ 7.3 กก./ตร.ซม. โดยที่ไม่มีความเสียหายในส่วนชิ้นไม้เลย ดังนั้นการพัฒนากำลังของคานและเสาประกอบนี้ จะต้องทำการศึกษาและพัฒนากาว หรือการยึดไม้แผ่นเล็กเข้าด้วยกัน จะทำให้ไม้ประกอบมีกำลังสูงขึ้นจนใช้งานได้ในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้. (2548). ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย. โรงพิมพ์สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

เกษราภรณ์ พานะดร, ชลดา อ่อนนุ่ม. (2564). การทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของเสาและคานไม้ประกอบที่ทำจากไผ่ซางหม่นเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต. [โครงงานวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชลีพรณ์ ธรรมพรรัมย์. (2562). นวัตกรรมคานไม้ไผ่ยักษ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎี ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุติมณฑน์ เสียงสุทธิวงศ์. (2556). การศึกษาคุณสมบัติของไม้ไผ่ประกอบที่ทำจากพันธุ์ไผ่ไทยเพื่อใช้ออกแบบคานไม้สำหรับอาคารสาธารณะขนาดเล็ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร มหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธวัชชัย อุ่นใจจม, นฤมล มณีอินตา และ วรวัฒน์ ปัญญาคํา. (2560). สมบัติเชิงกลของไม้ไผ่ 5 ชนิด ที่ผานการอบแห่ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 8-14.

รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์, บุญฤทธิ์ภูรยิากร และ วลัยพร สถิตวิบูรณ์. (2544). ไม้ไผ่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯโรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์.

ศุภชัย สินถาวร, ธราธร อิ่มเอิบ, เมธัช วงศ์วิเศษ และ ธนา ทิพย์เจริญ. (2566). การวิเคราะห์กำลังเสาประกอบตันจากไม้ไผ่ซางหม่น. ในการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 23 (น.286-295). สำนักวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

สุรพงษ์ ดาราม. (2562). การวิเคราะห์ค่าความปลอดภัยสำหรับไม้ไผ่ใช้ในงานก่อสร้าง. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 1(3), 11-26.

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). มาตรฐานการทดสอบกำลังต้านทานแรงดัดของไม้ (มยผ. 1224-51). กรุงเทพ: กรมโยธาธิการและผังเมือง

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). มาตรฐานการทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดในแนวขนานเสี้ยนของไม้ (มยผ. 1222-51). กรุงเทพ: กรมโยธาธิการและผังเมือง

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). มาตรฐานการทดสอบหาค่าความชื้นของไม้ (มยผ. 1223-51). กรุงเทพ: กรมโยธาธิการและผังเมือง

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2564). มาตรฐานงานไม้ (มยผ. 1104-64). กรุงเทพ: กรมโยธาธิการและผังเมือง

Supreedee Rittironk (2019). Structural Capacity of Columns using Bamboo culms from species in Thailand. International Journal of Building, Urban, Interior and Landscape Technology (BUILT), 14, 27-36.