สัมภาระทางวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยกลุ่มชาติพันธุ์แสก จังหวัดนครพนม CULTURAL BAGGAGE FOR ETHNIC GROUPS SAEK OF NAKHON PHANOM
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยอ้างอิงผลจากการวิจัยรูปแบบสำรวจเชิงพื้นที่ อธิบายลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้หลักการวิจัยแบบบรรยาย ควบคู่กับการสำรวจลงพื้นที่เก็บข้อมูลในงานวิจัย ตามกระบวนการปฏิบัติลงพื้นที่ภาคสนามในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เน้นการศึกษาเปรียบเทียบผ่านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอยู่อาศัยของผู้พูดภาษาแสกภายใต้ความเป็นวัฒนธรรมชาติพันธุ์แสกในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนมเป็นหลัก โดยศึกษาเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน และรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเรือนกรณีศึกษาและแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ เรือนรูปแบบจากวัฒนธรรมสืบทอด เรือนรูปแบบผสมผสาน และเรือนรูปแบบร่วมสมัย โดยมีเรือนกรณีศึกษาทั้งหมด 15 หลัง
ผลการศึกษา พบว่า การย้ายถิ่นฐานในช่วงแรกเป็นการย้ายถิ่นฐานลักษณะรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ จากความจำเป็นใน 2 ปัจจัยหลัก กล่าวคือ ปัจจัยด้านการดำรงชีพจากผลกระทบของภัยสงครามและปัจจัยด้านการย้ายถิ่นเพื่อหาพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ใหม่ ถือเป็นการย้ายถิ่นฐานในระดับพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ช่วงที่สองคือหลังภัยสงคราม เป็นการย้ายถิ่นฐานลักษณะรูปแบบการกระจายตัวตามแนวคิดกระบวนการเกิดของชุมชน ใน 2 รูปแบบคือ รูปแบบการเกิดของชุมชนระหว่างบุคคลต่อกลุ่มคน และรูปแบบการเกิดของชุมชนระหว่างกลุ่มสังคมและกลุ่มชุมชนวัฒนธรรมเดียวกันที่มีความคล้ายคลึงกัน ลักษณะรูปแบบเรือน สิ่งที่คงอยู่ความดั้งเดิม คือ พื้นที่เรือนนอนกับพื้นที่เซีย สิ่งที่ปรับเปลี่ยน คือ พื้นที่ครัวบนเรือนมีการถูกจัดวางในลักษณะที่ต่างกัน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงละทิ้ง คือ ความต่างของระดับเรือน และรูปแบบการต่อขยายเรือนที่เปลี่ยนเปลี่ยนไป สะท้อนถึงวิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ชลธี คำเกษ. (2553). คุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมภายในเรือนพื้นถิ่นชาวแสก กรณีศึกษา บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงพร คำมณี. (2544). การศึกษาชุมชนชาวแสก กรณีศึกษาหมู่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. [บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร].
นพดล ตั้งสกุล. (27-29 มกราคม 2554). การศึกษาศักยภาพเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทแสก.การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : รากฐานที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน.การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชิต คลังบุญครอง. (2553). เอกลักษณ์ที่อยู่อาศัยพื้นถิ่นลุ่มน้ำโขง จังหวัดนครพนม.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วิไลวรรณ ขษฐานันท์. (2519). ภาษาแสก. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
วีระ อินพันทัง. (2552). เรือนลาวโซ่ง: การกลายรูปในรอบสองศตวรรษ. สำนักพิมพ์อุษาคเนย์.
ศรินยา จิตบรรจง. (2545). การวิเคราะห์การแปรการใช้คำศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาแสก อำเภอนาหว้า จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2538). วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม.
สุธาสินี บุญเกิด. (2566, 17 มิถุนายน). กลุ่มชาตพันธุ์ในประเทศไทย “แสก”. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/209/
สุรจิตต์ จันทรสาขา. (2520). จังหวัดนครพนมในอดีต. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
อรศิริ ปาณินท์. (2553). การเปลี่ยนถ่ายสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวพวน : จากเชียงขวางสู่ลุ่มน้ำภาคกลางของไทย. หน้าจั่วว่า ด้วยประวัตศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย, (7), 134-165.
อรศิริ ปาณินท์. (2555). บ้านและเรือนพวนบางปลาม้า:จากเชียงขวางสู่ลุ่มแม่น้ำภาคกลางของไทย. สำนักพิมพ์อุษาคเนย์.
อัมพร ยะวรรณ. (2543). แสกเต้นสาก : กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ศึกษากรณีแสกเต้นสากหมู่บ้านอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม [บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร].
Schliesinger, J. (2001). Thi Groups of Thailand : Profile of the Existing Groups, Volume 2. Bangkok: White Lotus.
Schliesinger, J. (2003). Ethnic Groups of Laos : Profile of Austro-Thai-Speaking Peoples,Volume 3. Bangkok: White Lotus.