แนวทางการปรับปรุงอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน กรณีศึกษา : อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อลดการใช้พลังงาน และทำการประเมินการใช้พลังงานก่อนปรับปรุงอาคาร โดยใช้โปรแกรม BEC V.1.0.6 พบว่า อาคารมีค่า OTTV, RTTV และ LPD ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานพลังงานขั้นต่ำตามกฎกระทรวงฯ ปี พ.ศ. 2564 จึงเสนอแนวทางการปรับปรุง 4 แนวทาง โดยเสนอวิธีที่สามารถทำได้สะดวกและมีผลกระทบกับรูปลักษณ์อาคารน้อยที่สุด เมื่อทำการปรับปรุงแล้วจึงเสนอแนวทางการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์กับอาคาร โดยใช้โปรแกรม PVWatts Calculator ผลการศึกษาพบว่า แนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ การปรับปรุงตามแนวทางที่ 4 โดยการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่าง ปรับปรุงสีผิววัสดุภายนอก ปรับปรุงวัสดุผนังโปร่งแสง และปรับปรุงวัสดุหลังคาทึบแสง ทำให้สามารถลดค่า LPD ลง 59.15% OTTV 41.55% RTTV 84.92% และค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารลดลง 22.46% มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารรวม 431,775 บาท และเมื่อร่วมกับแนวทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 83 แผง มีค่าใช้จ่ายสำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์รวม 509,205 บาท ทำให้สามารถเป็นอาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้ โดยมีระยะเวลาคืนทุนโครงการ 6.14 ปี
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน. (2558). รายงานสรุปแนวทางการออกแบบอาคารต้นแบบ ประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน. (จุลสาร).
กฤชนนท์ สวนจันทร์. (2560). การออกแบบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามดวงอาทิตย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].Thammasat University Digital Collections. https://digital. Library. tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91050
บุญเลิศ ปีกขุนทด และ กิตติศักดิ์ บอขุนทด. (2559). พลังงานแสงอาทิตย์ อีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนพลังงานทดแทนหลัก สำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย. วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 12(12), 108-119.
วงศิยา อนุศักดากุล. (2559). แนวทางการปรับปรุงอาคารสำนักงานภาครัฐในประเทศไทยให้เป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository : SURE.https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/20413?attempt=2&
วุฒิกานต์ ปุระพรหม และ พันธุ์ระวี กองบุญเทียม. (2561). แนวทางการออกแบบอาคารเรียนต้นแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 15(2), 107-119
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2566). คู่มือโครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp
กลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). บัญชีราคาค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงาน. https://www.yotathai.com/yotanews/cost-build-65
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2563). สรุปค่าไฟฟ้าค้างชำระของหน่วยงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
https://www.dla.go.th/upload/template/tempNews/2020/9/58842_1.pdf
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (2564, 24 ธันวาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 315 ตอนพิเศษ 135 ง. หน้า 3-5.
SolarPPM. (ม.ป.ป.). แผงโซลาร์ มอก. SPPM 350W. https://solarppm.com/product/sppm-350w-polycrystaline-monofacial-tis/