การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและพฤติการณ์ของผู้รับจ้างที่ถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐโดยการแจกแจงแบบไคสแควร์

Main Article Content

อนันต์ สาวะโห
เมธากุล มีธรรม
เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์
นาถ สุขศีล

บทคัดย่อ

เนื่องจากโครงการก่อสร้างงานราชการในปัจจุบันยังมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ได้ผู้รับจ้างที่ขาดศักยภาพและความพร้อมมาดำเนินโครงการ ส่งผลให้งานไม่ได้คุณภาพ ส่งมอบงานล่าช้า หรือส่งมอบงานไม่ได้และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้รับจ้างเกิดการทิ้งงาน นอกจากนั้นปัญหาการทิ้งงานอาจเกิดจากสาเหตุอื่นอีกในหลายปัจจัย ทั้งจากผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ข้อจํากัดต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง ตลอดจนถึงการบริหารงานก่อสร้างที่ขาดประสิทธิภาพจนส่งผลทำให้เกิดความล่าช้า ไม่สามารถส่งมอบงานตามกำหนดทำให้เกิดค่าปรับและส่งผลให้ผู้รับจ้างตัดสินใจทิ้งงานในที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและระบุพฤติการณ์ของผู้รับเหมาที่ถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ เพื่อที่จะนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อสังเกตในกระบวนจัดหาผู้รับจ้าง เพื่อที่จะไม่ให้ได้ผู้รับจ้างที่มีแนวโน้มจะเป็นเป็นผู้ทิ้งงานต่อไป กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ ตามหนังสือแจ้งเวียนผู้ทิ้งงานของกระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 จำนวน 154 ราย หลักการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ Chi-Square ด้วยวิธีเปียร์สัน ได้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติการณ์หรือแนวโน้มของผู้รับจ้างที่มีโอกาสจะถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงาน ซึ่งพบว่า ผู้รับจ้างที่มีรูปแบบการจดทะเบียนแบบบุคคล มีรูปแบบทุนจดทะเบียนนามบุคคล รับงานมูลค่าโครงการ ≤ 1 ล้านบาท รับงานก่อสร้างประเภทอาคาร และอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย นั้นมีโอกาสจะถูกระบุให้เป็นผู้ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวัชต์ วิลัยหงส์. (2550). การทิ้งงานของผู้รับเหมาที่นำไปสู่การบอกเลิกสัญญาโดยผู้ว่าจ้างในสัญญาโครงการก่อสร้างภาครัฐ. [วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ].

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. ห้างหุ้นส่วนสามัญ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์ และกำพล ทรัพย์สมบูรณ์. (2561). การศึกษาข้อมูลผู้รับเหมาที่ทิ้งงานก่อสร้างภาครัฐ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 29(4), 19-34.

พีรสิชฌ์ อัฑฒ์สุวีร์ และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (2563). สาเหตุความล่าช้าของงานราชการและแนวทางการแก้ปัญหา. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (CEM07). ชลบุรี: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

ภานุมาศ แก้วตา, พุทธพล ทองอินทร์ดำ และ กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์. (2552). ปัญหาการทิ้งงานในโครงการภาครัฐที่จัดจ้างด้วยวิธีการสอบราคาก่อนและหลังมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง: กรณีศึกษา มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 มิถุนายน 2551. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 7(1-2), 78-87.

ศิริชัย พงษ์วิชัย (2564). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยความพิวเตอร์ เน้นสำหรับงานวิจัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย. (2563, 20 เมษายน). การจัดหาผู้รับจ้าง (procurement). https://cmatthai.com/newweb/

สุรัตน์ ศรีจันทร์. (2552). รายงานการวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคัดเลือกคุณสมบัติผู้เข้าประมูลงานการก่อสร้างของหน่วยงานราชการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ.

Adil, A., Abdulmajid, T., & Mahdi, S. (2019). Analytical study of the causes of abandoned construction projects. Civil Engineering Journal, 5(11), 2486-2494.

Ayodele, E. O. (2011). Abandonment of construction projects in Nigeria: causes and effects. Journal of Emerging Trends in Economics and Management Sciences, 2(2), 142-145.

Khudhaire, H. Y., & Naji, H. I. (2021). Causes of Abandoned Construction Projects: A case study in Iraq. Paper presented at the IOP Conference Series: Materials Science and Engineering.

Liebing, R. W. (2001). The construction industry: Processes, players, and practices: Pearson College Division.

Lopes, J. (2010). Construction and economic growth in developing countries of Africa: evidence from data of the last thirty years. Paper presented at the CIB World Building Congress.

Oluwaseyi, O., & Godwin, O. (2017). Assessment of abandonment causative factors in the Nigerian public tertiary educational institutions projects. International Journal of Building Pathology and Adaptation, 35(1).

Project Management Institute. (2020, 20 April). When what you do is not exclusive, how you do it becomes your competitiveadvantage.https://www.pmi.org//media/pmi/documents/public/pdf/about/annualreports/pmi-annual-report-consolidated-financials-2013.pdf?v=dac03206-adec-43a0-87cf-98ea050138cc

Wells, J. (2020, 20 April).Corruption in the construction of public infrastructure: Critical issues in project preparation.https://www.u4.no/publications/corruption-in-the-construction-of-public-infrastructure-critical-issues-in-project-preparation-1