ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพและเครือข่ายการมีส่วนร่วมในเมืองเก่าแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาศักยภาพพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพในเมืองเก่าแพร่, 2.) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเก่าแพร่ และ 3.) ประมวลความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพและเครือข่ายการมีส่วนร่วมในเมืองเก่าเแพร่ การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพและเครือข่ายการมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชนในเมืองเก่าแพร่ ผลการศึกษาพบว่าเครือข่ายการมีส่วนร่วมในเมืองเก่าแพร่แบ่งได้ 3 กลุ่ม สามารถระบุพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพที่มีศักยภาพ จำนวน 12 พื้นที่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) พื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพของเมืองที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและมีโครงการหรือแหล่งทุนเข้ามาสนับสนุนการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 2) พื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพของเมืองที่สามารถสื่อสารสัมผัสและถ่ายทอดภาพจำของเมืองเก่าแพร่ และ 3) พื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพที่มีศักยภาพของเมืองที่อยู่ระหว่างการหากระบวนการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสม และสามารถระบุพื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายการมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชนในเมืองเก่าแพร่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กุสุมา บุญกาญจน์, ชูวิทย์ สุจฉายา. (2558). การจัดทำแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนดั้งเดิมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร. Built Environment Inquiry, 14(1), 59-82.
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2551). ซอยลัดประหยัดพลังงาน พื้นที่ว่างสาธารณะขนาดเล็ก-พื้นที่ทางสังคมของชุมชนไทย. การประชุมวิชาการด้านการวางแผน ภาคและเมือง ครั้งที่ 2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551.
แผ่นดิน อุนจะนำ, (2559). ความสัมพันธ์ของพื้นที่ในเรือนชุมชนช่างเมืองเชียงตุง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 30.
ปิยเดช อัครโพธิวงศ์. (2562).การศึกษากระบวนการความร่วมมือของชุมชนในการจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวแกน มรดกโลกโดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม กรณีศึกษา: นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร บ้านคุกพัฒนา และทุ่งหลวง จังหวัดสุโขทัย. Journal of Industrial Education, 18(3), 101-113.
ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นถนนคนเดินแบบตลาดนัดในเมืองไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.
วิทยา เรืองฤทธิ์. (2555). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของกระแสการเดินทางไปทำงานในภูมิภาคเมืองโคราช. Veridian E- Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 5(3), 254-266.
อัมพิกา ชุมมัธยา. (2562). การถอดบทเรียนจากกิจกรรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสู่กระบวน ทัศน์ใหม่ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่. Local Administration Journal, 12(2), 216-232.
Jan Gehl, (2010). Cities for People. Washington D.C : Islandpress.
Jane Jacobs, (1961). The Death and Life of Great American Cities. New York : Random House.
Maruya, K., Yamashita, S., & Uchiyama, T. (2015). Community spaces in the minds of traditional craftsmen in a pottery village in Japan. Frontiers of Architectural Research, 4(4), 253-262.