การเปลี่ยนแปลงกายภาพพื้นที่เมืองพิมายจากการให้คุณค่าต่อปราสาทพิมายในพุทธศตวรรษที่ 24-25

Main Article Content

SRIVIENG GAPPHIMAI

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกายภาพเมืองพิมาย ที่มีความสัมพันธ์กับ ปราสาทพิมาย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 ด้วยการวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงกายภาพพื้นที่ พบการเปลี่ยนแปลง สามช่วงเวลาคือ1.กรุงศรีอยุธยาตอนปลายคติความเชื่อพุทธศาสนา ทำให้กายภาพรอบปรางค์ประธานปราสาทพิมายเปลี่ยนแปลง โดยการย้ายวัดอยู่นอกกำแพงชั้นในเข้ามารอบปรางค์ประธาน เปลี่ยนแปลงพื้นที่จากเทวสถานในคติฮินดูเป็นวัดในคติเถรวาท ด้วยพิธีกรรมที่รองรับศาสนาพุทธแทนพื้นที่พิธีกรรมของฮินดู ช่วงที่ 2. สมัยรัชกาลที่ 5 การเข้ามาของชาติตะวันตก ทำให้สยามปฎิรูปการปกครองและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ.2435 เมืองพิมายถูกยกฐานะเป็นอำเภอ มีการสร้างพื้นที่ปกครองภายในบริเวณมณฑลศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการยืมความหมายความเป็นศูนย์กลางปราสาทพิมาย และใช้ศาลาการเปรียญวัดรอบปรางค์ประธานเป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว  และช่วงที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 6 ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถาน ได้ส่งผ่าน พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ศานุวงศ์และชนชั้นนำ ทำให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยรอบปรางค์ประธานคือ ย้ายวัดออกจากบริเวณมณฑลศักดิ์สิทธิ์และปรับปรุงพื้นที่กายภาพให้สะดวกต่อการเยี่ยมชม ตลอดจนการสร้างพื้นที่ปกครองด้านหน้าปราสาทพิมายเพื่อรักษาปรางค์ประธาน เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการอนุรักษ์โบราณสถานที่มีต่อปราสาทพิมายอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งส่งผลต่อกายภาพเมืองพิมายในปัจจุบันอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2532). อุทยานประวัติศาตร์พิมาย. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). การกำหนดคุณค่าตามเกณฑ์การพิจารณาแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป. วารสาร

หน้าจั่ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (มกราคม-ธันวาคม). G43-60.

ชาตรี ควบพิมาย. (2559). การวิเคราะห์พื้นที่เมืองพิมายตามทฤษฎีจินตภาพเมือง เพื่อสร้างแนวทางการปรับปรุงพื้นที่เพื่อส่งเสริมการ

ท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, 8 (3), : 52-61

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯกรมพระยา (2545). เทศาภิบาล. กรุงเทพฯ : มติชน.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯกรมพระยา (2559). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). สยามประเทศได้ดินแดน-เสียดินแดนกับลาวและกัมพูชา.กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.

มานิต วัลลิโภดม. (2502). นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

มานิต วัลลิโภดม. (2513). นำเที่ยวพิมายและโบราณสถานในจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ยอร์ช เซเดส์. (2556). เมืองพระนคร นครวัด นครธม. สำนักพิมพ์ดรีม แคทเชอร์.

รังสิมา กุลพัฒน์. (2557). living Heritage through Literature : The Development of prajit-oraphim Cultural Routes.

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2552). สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการหัวเมือง (พ.ศ. 2435–2458). วารสารมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 4(2), 1-34.

สีมาบุรินทร์. (2559). สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ บรมราชชนนี เสด็จประพาสเมืองนครราชีมา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบรม

ราชานุสรณ์.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2506). การซ่อมปราสาทหินพิมายของนาย Bernard Philippe Groslier. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2516). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพฯ : พิฆเนศ.

สุมิตรา อำนวยศิริสุข. (2524). กบฎผู้มีบุญในมณฑลอีสาน พ.ศ.2444-พ.ศ.2445.กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมชาติ จึงศิริอารักษ์. (2558). ประวัติ แนวคิด ทฤษฎีและการปฎิบัติการในการอนุรักษ์โบราณสถาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

สมมาตร์ เกิดผล. (2554). ปราสาทพิมาย เพชรน้ำเอกแห่งวิมายะปุระ. กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

สมหมาย แก้วเพชร. (2552). อนุสรณ์ครอบ 100 ปีก่อตั้งวัดใหม่ประตูชัย ที่ระลึกงานกฐินวัดใหม่ประตูชัย.พิมาย : โรงพิมพ์สุนทร.

สมหมาย แก้วเพชร. (2555). เล่าเรื่องเมืองพิมาย. พิมาย : โรงพิมพ์สุนทร.

เอเดรียน สนอดกราส. (2541). สัญญลักษณ์แห่งพระสถูป, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : อมรินทร์วิชาการ.

Gapphimai, S. and Weerataweemas, S. (2020). “Phimai sanctuary (Thailand) and nostalgia in World Heritage”.The

International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences –ISPRS

Archives. Volume 54, Issue M-1 Valencia, Spain. 637-644.

ออนไลน์

ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. (ม.ป.ป.) “พิมายและศาสนสถานบนเส้นทางวัฒนธรรมปราสาทพนมรุ้งและเมืองต่ำ” (Phimai ,its Cultural

Route and the Associated Temples of Phanomroong and Muangtam). https://whc.unesco.org/en

/tentativelists/1919.