การประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ของโครงการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในงานก่อสร้าง มีผู้ประสบอันตรายที่ระดับความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการตกจากที่สูง งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง แบบประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ถูกพัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงมาจากกฎกระทรวงแรงงาน 2 เรื่อง คือ (1) อันตรายจากการตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และ (2) การทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564 ได้รายการประเมิน จำนวน 25 หัวข้อ จากนั้นนำไปประเมินความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูง ของโครงการก่อสร้างอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โครงการ พบว่า ระดับความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างบนที่สูงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตามยังพบว่า สถานที่ก่อสร้างบางโครงการยังคงละเลยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง ต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการตกจากที่สูง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กองพล ชุนเกาะ และ วชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2560). การจัดการความรู้ด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างด้วยแบบจำลองสารสนเทศ
อาคาร. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 40(4), 611-619.
สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2542). แนวปฏิบัติการบริหารความปลอดภัยในงาน
ก่อสร้าง. กรุงเทพมหานคร: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
สมาคมอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2564). สี่อันตรายร้ายแรงในงานก่อสร้าง. www. ohswa.or.th/17652351
/safety-engineer-for-jor-por-series-ep5.
สุนันท์ มนต์แก้ว และ ธวัชชัย นวเลิศปัญญา. (2562). ผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้างต่อผลิตภาพในงานปู
กระเบื้องผนังภายนอกอาคาร. วิศวกรรมสารเกษมบัญฑิต, 9(2), 142-156.
สุนันท์ มนต์แก้ว และ ธวัชชัย นวเลิศปัญญา. (2562). การพัฒนาแบบประเมินความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการประเภทอาคาร
สูงวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(3), 31-43.
สุรเดช โนสูงเนิน และ วรรณวิทย์ แต้มทอง. (23-25 มิถุนายน 2564). สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่.
ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26.
อภิชา ครุธาโรจน์, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, นันทพร ภัทรพุทธ และ จิตรพรรร ภูษาภักดีภพ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงของคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ
,11(3), 26-34.
อำนวย เลิศชยันตี. (2539). สถิติวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.
Abdul, R., Muhd, Z., & Bacha, S. (2008). Causes of Accidents at Construction Sites. Malaysian Journal of Civil
Engineering, 20(2), 242-259.
Cheng, C.W., & Wu, T.C. (2013). An Investigation and Analysis of Major Accidents Involving Foreign Workers in
Taiwan’s Manufacture and Construction Industries. Safety Science, 57(1), 223- 235.
Evan, N., Carol, H., Bo, X., Ian, S., & Dongping, F. (2016). Fall From Height in the Construction Industry: A Critical
Review of the Scientific Literature. Journal of Environmental Research and Public Health, 13(638), 1-20.
Evelyn, L., Florence, Yn., & Adrian, C. (2005). Framework for Project Managers to Manage Construction Safety.
International Journal of Project Management, 23(4), 329-341.
Ismail, Z., Doostdar, S., & Harun, Z. (2012). Factors Influencing the Implementation of a Safety Management System
for Construction Sites. Safety Science, 50(3),418-423.
Jimmie, H., & Charles, H. (1981). Safety Programs in Large Construction Firm. Journal of Construction Division. 107,
-467.
Kadiri, Z.O., Avre, G.K., Oladipo, T.O., & Ananso, G.N. (2014). Causes and Effects of Accidents on Construction
Sites (Case Study of Some Selected Construction Firms in Abuja F.C.T Nigeria). Journal of Mechanical
and Civil Engineering, 5(1), 66-72.
Mohammad, S., Bashar, M., Khalied, H., & Shaher, M. (2010). Safety Management in the Jordanian Construction
Industry. Jordan Journal of Civil Engineering, 4(1), 47-54.
Olcay, G., Gulgun, M., Onur, Y., & Ercan, E. (2021). The Factors Causing Height-Fall Accidents Occurring During
Roofing and Facing Works. Cukurova University Journal of the Faculty of Engineering, 36(1), 55-62.