สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 4 ประเภทได้แก่ ห้องสำนักงาน ห้องประชุม โถงทางเดิน และห้องบรรยาย ของอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้วิธีการสำรวจห้อง 171 ห้องโดยการดำเนินการศึกษาสำรวจข้อมูล และวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเด็นคือ ปริมาณสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่ากำลังส่องสว่างสูงสุด ค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อจำนวนผู้ใช้งาน และค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้งาน จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดคือระบบปรับอากาศ ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ และระบบแสงสว่างคิดเป็นค่าเฉลี่ย 76.52%, 18.06% และ 5.42% เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกันพบว่า ห้องสำนักงาน มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคนในพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานต่อจำนวนผู้ใช้งาน คือ 17.30 kWh/คน และโถงทางเดินน้อยที่สุดคือ 0.11 kWh/คน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานและปริมาณการใช้พลังงานว่าเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้นแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามไปด้วย และห้องบรรยายเป็นห้องที่มีค่าเฉลี่ยพลังงานไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้งานสูงที่สุดเท่ากับ 1.20 kWh/"m" ^"2" และโถงทางเดินน้อยที่สุดคือ 0.02 kWh/"m" ^"2" จึงได้แนวทางการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า มาตรการประหยัดพลังงานระยะสั้น พลังงานระยะยาว และมาตรการการใช้พลังงานทดแทนโดยติดตั้งโซล่าเซลล์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กฎกระทรวงฉบับที่ 2. (2550). พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550. หมวดที่ 1 ประเภทและขนาดของอาคาร.
กระทรวงพลังงาน. (2564). ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ คำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการ
ออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารและการใช้พลังงานหมุนเวียน
ในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138. ตอนพิเศษ 315 (24 ธันวาคม 2564): หน้า 35-36
การไฟฟ้านครหลวง. (2541). การคิดค่าไฟด้วยตัวเอง. วารสารภายใน การไฟฟ้านครหลวง, 18(178), n-pp.
กระทรวงพลังงาน. (2556). คู่มือมาตรฐาน และฉลากประสิทธิภาพพลังงานของไทย.
ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. (2560).คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
[เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน
ศิรินภา จันทรโคตร, และยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (2561). แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น [เอกสารนำเสนอ].
การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5, ขอนแก่น, ประเทศไทย.
อาติยาพร สินประเสริฐ. (2558). การใช้พลังงานไฟฟ้าในห้องบรรยายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ออนไลน์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). แนวโน้มสถิติความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด.https://www.egat.co.th/home/statistics-
demand-annual/.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2564). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามระยะ 20 ปี. https://plan.rmu.ac.th
/th/?p=397.
คลังความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (2559).ความสำเร็จของ “อาคารประหยัดพลังงานดีเลิศ”
ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ .https://www.egat.co.th/home/statistics-demand-annual/.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2565). มติคณะรัฐมนตรี. https://www.eppo.go.th/.