“บ้าน” ในพงไพรและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชาวมันนิแห่งเทือกเขาบรรทัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาบ้าน และการปรับตัวทางวัฒนธรรมของชาวมันนิแห่งเทือกเขาบรรทัดที่มีลักษณะวิถีชีวิตในการ
ตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือ วิถีชีวิตเร่ร่อนดั้งเดิม วิถีชีวิตแบบกึ่งสังคมชุมชน และวิถีชีวิตตั้งถิ่นฐานถาวร โดยมองผ่านบ้านทั้งลักษณะความสัมพันธ์เชิงความหมาย และลักษณะความสัมพันธ์เชิงทางกายภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบ้านของชาวมันนิ
ในมิติความสัมพันธ์เชิงความหมาย และความสัมพันธ์เชิงกายภาพ 2) วิเคราะห์เชื่อมโยงการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่มีต่อบ้านในมิติความสัมพันธ์เชิงความหมาย และความสัมพันธ์เชิงกายภาพ โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงความหมายจากการสัมภาษณ์ สำรวจ ถ่ายภาพ เนื้อหาในประเด็นที่เกี่ยวข้องนำมาจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบ ตีความซึ่งเป็นกระบวนการลงรหัส ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภาพ ด้วยข้อความตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ในการสร้างและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างรหัส
โดยผสานผสมระหว่างการตั้งรหัส นิรนัย และอุปนัย ข้อสังเกต และการบันทึกสรุป และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงกายภาพ
โดย การวิเคราะห์หน้าที่ใช้สอย และการวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นที่การใช้สอย จากการศึกษา พบว่า
1) ความสัมพันธ์เชิงกายภาพระหว่างชาวมันนิกับบ้าน ทั้ง 3 กลุ่มสัมพันธ์กับการดำรงชีพ โดยใช้คติความเชื่อเป็นหลักเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 2) ความสัมพันธ์เชิงความหมายที่มีต่อบ้านของชาวมันนิทั้ง 3 กลุ่ม ได้ให้ความหมาย และความสำคัญไปในทิศทางเดียวกัน แม้ลักษณะทางกายภาพจะแตกต่างกัน โดยนิยามความหมายบ้านถึงครอบครัว สถานที่
และการดำรงชีวิตแบบกลุ่มเครือญาติ 3) การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่มีต่อบ้านทั้งความสัมพันธ์เชิงกายภาพ และความสัมพันธ์
เชิงความหมายของชาวมันนิ ทั้ง 3 กลุ่ม มีการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อขนาด รูปร่าง รูปทรงของบ้านที่แตกต่างกัน แต่ในทางกลับกันคติทางความเชื่อ หลักเกณฑ์ และแนวคิดที่มีต่อบ้านยังคงไปในทิศทางเดียวกัน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2536). หนังสือการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ภาควิชาภูมิศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรินทร์ จินต์วุฒิ. (2558). คติความเชื่อ: แกนหลักในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ กรณีศึกษา
ดอยมูเซอ จังหวัดตาก. หน้าจั่ว:ว่าด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบและสภาพแวดล้อม, 29, 177-189.
วิสา เสกธีระ. (2557). การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยของชาวมันนิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร].
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/11238
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2558). มันนิ (ซาไก) ชนพื้นเมืองภาคใต้ของไทย. ดำรงวิชาการ วารสารรวมบทความทางวิชากการ คณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 34-56.
อรศิริ ปาณินท์. (2553). บ้านและเรือนพวนเชียงขวาง การย้อนกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม. หน้าจั่ว:สถาปัตยกรรม
การออกแบบและสภาพแวดล้อม.25, 45-73.
Connor, G., Dorrell, D., Henderson, J. P., & Lindley, T. (2018). Human Settlement. Introduction to Human
Geography.(2nd digital ed.).University of North Georgia Press.
Dovey, K. (1985). Home and Homelessness: Introduction. In A. Irsin & C. M. Weernee. (Eds). Home Environments.
Human Behavior and Environment: Advances in Theory and Research. (pp. 8-10). Plenum Press.
Rapoport, A. (1969). House Form and Culture. Prentice-Hall, In c. Englewood Cliffs, N.J. (pp. 46). University of
Wisconsin-Milwaukee.
Sixsmaith, J. (1986). The meaning of home : An exploratory study of environmental experienec. Journal of
Environmental Psychology,6, 281-298
Yimsrual, S. (2013). Myth, Ritual and Architecture. Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut's Institute
of Technology Ladkrabang,16(1), 12.