ชุมชนอัจฉริยะด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์

Main Article Content

กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์
มนชยา สภานุชาต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ชุมชนอัจฉริยะด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านผ้าไหมแพรวาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมในตำบลหนองช้าง และเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรที่มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทานของการผลิตผ้าไหมแพรวาในตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในฐานะตำบลอัจฉริยะ   โดยมีกลุ่มเป้าหมายประเภทผู้เชี่ยวชาญจำนวน  10 คน ผู้ปฏิบัติที่เป็นตัวแทนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกลุ่มทอผ้าและกลุ่มจัดจำหน่ายรวมจำนวน 27 คน นักวิจัยจำนวน 2 คน และผู้เกี่ยวข้องจำนวน 17 คน  โดยใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพประเภทแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แบบประเมินมาตรประมาณค่า แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านผ้าไหมแพรวามีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้จำนวน 1 ศูนย์ซึ่งเน้นในการเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านผ้าไหมแพรวาสีธรรมชาติ ในส่วนการพัฒนาศักยภาพปราชญ์ชาวบ้านในศูนย์เรียนรู้ด้านผ้าไหมแพรวาซึ่งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ มีผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับ 4.3 ซึ่งอยู่ในระดับดี  และในด้านยกระดับรายได้ของเกษตรที่มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเปรียบเทียบจากรายได้ปี 2564 และปี 2565 พบว่า กลุ่มผู้จัดจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 46,000 บาท เป็น 99,000 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 115 กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 103 ซึ่งเดิมมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 6,091.20 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 12,412.80 บาท เพิ่มขึ้น 6,321.60 บาท คิดเป็นร้อย 103 และกลุ่มผู้ทอผ้ามีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.71 ซึ่งเดิมรายได้เฉลี่ยต่อปี 6,648.16 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 9,222.22 บาท เพิ่มขึ้น 2,574.06 บาท ซึ่งการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านผ้าไหม  แพรวาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพทำให้กลุ่มเป้าหมายตลอดห่วงโซ่อุปทานมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 85.57

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลภัสสรณ์ นางาม. (2565). กระบวนการสร้างแนวความคิดในงานออกแบบจากอัตลักษณ์ของภาคเหนือเพื่อผลลัพธ์ในรูปแนวความคิดสร้างสรรค์งานสมัยใหม่. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 4(2), 177-190.

กฤตยาวดี เกตุวงศา, ณกานต์ บัวเผื่อน และ ศิววงศ์ เพชรจุล. (2555). การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ด้วยวิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีฐานราก : กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนชาวนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(1), 12-24.

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2566). การจัดการความรู้ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมสีธรรมชาติ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 17(50), 232–246.

ธนิกานต์ ศรีจันทร์ และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). การขับเคลื่อนเครือข่ายไหมไทยแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งยั่งยืน บ้านหนองโน ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 366–387.

นิชานันท์ คงทวี และ ประภัสสร เกียรติสุรนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร, 4(44), 631-638.

พรรณนภา ศักดิ์สูง. (2532). การเลี้ยงไหมวัยอ่อน: ประตูสู่ความสำเร็จในการปลูกหม่อน-เลี้ยงไหม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 22(3), 224-230.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 - 2580. (2561, 13 ตุลาคม). เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.ราชกิจจานุเบกษา.

ศรัญญา นาเหนือ, นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และ อัครเดช สุพรรณฝ่าย. (2563). แนวทางพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจฐานราก. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 233-248.

อนันต์ คติยะจันทร์. (2564). การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นฐานรากในพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 188–200.

อมรรัตน์ เวชการ, สุกัลยา เชิญขวัญ และ ประภัสสร เกียรติสุรนนท์. (2563). ความต้องการการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. KHON KAEN AGR. J., 48(2), 369-380.

Rensis L. (1961). New Pattern of Management. McGraw-Hill.

Vongkhamsao, A. & Ladawan, T. (2019). Strategies for Organizing Local Wisdom Learning Center in the Northeast Region, Dhammathas Academic Journal, 19(3), 71-79.

Yanpisit, K. (2022). Phu Tai textiles as a cultural heritage of the nation. Asian Journal of Traditional and Innovative Arts and Textiles, 1(2), 61–83.