แนวทางการพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจศักยภาพของบ้านตัวอย่างในการเป็นพื้นที่พักรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพทางด้านธรรมชาติ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเลือกบ้านตัวอย่างจากเกณฑ์การสมัครใจของเจ้าของบ้านและอ้างอิงตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยเฉพาะ 4 ด้านเบื้องต้น ได้แก่ 1) ด้านที่พัก 2) ด้านอาหาร 3) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าของบ้าน และ 4) ด้านการนำเที่ยว ซึ่งมีวิธีวิจัยด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) การวิจัยเชิงสำรวจ และ 3) กระบวนการออกแบบ
ผลการวิจัยพบว่า มีบ้านตัวอย่างที่สอดคล้องเกณฑ์คัดเลือกและมีศักยภาพ 4 หลัง ซึ่งลักษณะเป็นเรือนอีสานสมัยใหม่ในรูปแบบทรงซาอุ มีหลังคาจั่วสูง โครงสร้างไม้กึ่งปูน มีทั้งแบบชั้นเดียวและแบบ 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นก่ออิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นไม้ ประตูหน้าต่างสำเร็จรูป มีรั้วบ้านปลอดภัย พื้นที่นอกบ้านเป็นลานกว้าง มีองค์ประกอบที่แสดงถึงอัตลักษณ์วิถีชุมชน จากการวิเคราะห์มีส่วนปรับปรุงและแนวทางในการออกแบบ 3 ประเด็น คือ 1) การจัดพื้นที่ภายในและภายนอกบ้านให้เป็นสัดส่วน โดยคงอัตลักษณ์รูปแบบเรือนอีสานไว้ 2) เพิ่มกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนและให้ทันสมัย และ 3) การจัดกิจกรรมนำเที่ยว โดยจัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวรายฤดูกาลที่สะท้อนอัตลักษณ์ด้วยการเรียนรู้วิถีชุมชนร่วมกับป่าโคกข่าว การนำพืช ผัก สมุนไพรตามฤดูกาลมาตกแต่งและทำอาหาร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กรวรรณ สังขกร. (2555). ความรู้พื้นฐานและมาตรฐานโฮมสเตย์ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันวิจัยสังคมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชัชวาล ทัตศิวัช. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR): มิติใหม่ของรูปแบบวิธีวิจัย
เพื่อการพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยรามคำแหงกรุงเทพฯ.
ณิชากรณัฐิ เจริญญลาภ. (2550). การจัดการธุรกิจโฮมสเตย์ของชุมชนชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พันธ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล,
กรุงเทพฯ.
พงศ์เสวก อเนกจำนงพร. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นเบบี้บูมในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการธุรกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 55-67
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง.กรุงเทพมหานคร.
สริตา ศรีสุวรรณ และบงกช เตชมิตร. (2562). แนวทางการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้คงเสน่ห์ และแตกต่าง อย่างมีอัตลักษณ์ เพื่อ
ตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. บทความวิชาการ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1),1-13
นิธิเดชน์ เชิดพุทธ. (2549). การท่องเที่ยวเชิงพักอาศัยตามบ้านโฮมสเตย์บ้านฟองใต้ ตำบลวังกวางอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
(รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยนเรศวร.