วิวัฒนาการของช่องลมระบายอากาศในบ้านไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของช่องลมระบายอากาศในบ้านไทยโดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ การใช้งาน ขนาด วัสดุ และลวดลาย โดยใช้วิธีการศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อคัดเลือกอาคารกรณีศึกษาจำนวน 20 อาคาร ที่มีลักษณะที่สำคัญของช่องลมระบายอากาศและทำการลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วิวัฒนาการของช่องลมในบ้านไทยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคสำคัญตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ได้แก่ (1) ยุคช่องลมในเรือนไทยประเพณี (ก่อน พ.ศ. 2411) (2) ยุคช่องลมลวดลายในเรือนขนมปังขิง (พ.ศ. 2411 - 2509) (3) ยุคบล็อกคอนกรีตในสถาปัตยกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2552) และ (4) ยุคอิฐช่องลมงานฝีมือในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) โดยวิวัฒนาการด้านการใช้งานเน้นการใช้ประโยชน์ในการระบายอากาศ รับแสง และประดับตกแต่งอาคาร ขนาดขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดตั้ง เช่น บนช่องหน้าต่างและประตู ในขณะที่วัสดุมีพัฒนาการจากไม้ฉลุไปสู่คอนกรีต และลวดลายมีพัฒนาการจากลวดลายอ่อนช้อยที่มีที่มาจากพฤกษชาติและธรรมชาติสู่ลายอุตสาหกรรม และรูปทรงเรขาคณิต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สุนทรียภาพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2539). การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน.กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ธันญวีร์ มีสรรพวงศ์ และ ธนิต จินดาวณิค. (2562). การศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของบ้านเรือนไทยที่ส่งเสริมการระบายอากาศและนำมาประยุกต์เข้ากับบ้านสมัยใหม่. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(3), 83-98.
ผุสดี ทิพทัส. (2525). บ้านในกรุงเทพ: รูปแบบการเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี (พ.ศ.2325 – 2525). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทัย จงใจรัก. (2532). เรือนไทย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
ภรดี พันธุภากร. (2547). การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สกุลช่างจันทบุรี. ชลบุรี : กรมศิลป์การช่าง.
ภัทราวดี ศิริวรรณ และ รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์. (2562). การศึกษารวบรวมลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิงสกุลช่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดแพร่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 163-174.
วนิดา พึ่งสุนทร. (2565). ภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 19(1), 8-57.
ศรัณย์ ศรีธวัชพงศ์ และ เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร. (2561). รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาขนมปังขิง: กรณีศึกษา คุ้มวงศ์บุรี จังหวัดแพร่. วารสารสาระศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2561(2), 208-218.
สุคตยุติ จารุนุช. (2563). การพัฒนาการออกแบบระบบผังและรูปแบบผนังอาคารประเภทบ้านจัดสรรด้วยหลักการ Passive Design เพื่อลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ. [ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ออนไลน์
บริษัท สมาร์ตคอนกรีต จำกัด (มหาชน). (2561). เกร็ดความรู้กับลุงพี. https:// www.smartblock .co.th/บทความ.
บริษัท อิฐเอเชีย จำกัด. (2564). อิฐแดงช่องลมคืออะไร เรามาทำความรู้จักกัน. https://itasia.co.th/blog .
บริษัท เอ็มเฟล็กซ์แฟคทอรี จำกัด. (2561). All Products. https://mflexfactory .com/ square-series-2/.
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนา. (2537). พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค. https://culture.psu.ac.th/? portfolio=เรือนอำมาตย์โท.
Ikemura, J. (2016). Hana-block is Okinawa’s original wall art. http://www.japanupdate.com/2016/06/ hana-block-
is-okinawas -original-wall-art/ .