การออกแบบพื้นที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชุมชนไทเขิน บ้านต้นแหนน้อย อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ปิยะนุช เจดีย์ยอด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบพื้นที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ชุมชนไทเขิน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชุมชนไทเขิน ที่มีความเหมาะสมต่อบริบทของชุมชนวัฒนธรรมไทเขิน  โดยใช้การทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เจ้าของอาคารที่มีคุณค่าในชุมชน แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากแบบสอบถาม และจากการสำรวจการวัดระยะผังเรือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านต้นแหน ผลการศึกษาที่ได้ด้วยกระบวนการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชุมชนไทเขินที่มีความเหมาะสมต่อบริบทของชุมชน ด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่มีผลต่อการเรียนรู้ทั้ง 4 ขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทเขินนั้นมีผลต่อการรับรู้ถึงคุณค่าของกิจกรรมและสถาปัตยกรรม การออกแบบพื้นที่เพื่อรับรู้ในมิติของวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาพื้นที่จัดแสดงที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของวัฒนธรรมไทเขิน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนี เพชรานนท์. (2542). การทำรายละเอียดประกอบโครงการออกแบบ สถาปัตยกรรมภายใน.กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถาปัตยกรรม

ภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปิยกานต์ พานคำดาว. (2549). นิเวศวิทยา วัฒนธรรมซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ของไทเขิน กรณีศึกษา บ้านต้นแหนน้อย

อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพิไล เลิศวิชา และ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2546). ชุมชนหมู่บ้านลุ่มน้ำขาน. นนทบุรี: โรงพิมพ์ธารปัญญา เอ็ดดูเคชั่น.

พลเดช เชาวรัตน์, มลฤดี เชาวรัตน์, ดาราลัย ไซมะเริง, กิ่งกาญจน์ โสภณพิศุตม์, ลินจง โพชารี, ศมลวรรณ วรกาญจน์, ธเนศ

ฉัตรจุฑามณี, อิสสระ ดวงเกตุ, สรัญญา ภัคดีสุวรรณ, อมฤต สมพงษ์, ญาดา สามารถ และธราธร บุ้งทอง. (2565). การ

ประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบวีดีทัศน์มรดกวัฒนธรรมชุมชนแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร

สถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 4(1), 13-24.

ภดารี กิติวัฒนวณิช. (2564). การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนโคกสลุง เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบหอชมวิวสำหรับชุมชนท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรม จังหวัดลพบุรี. เจ-ดี: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 8(1), 45-59.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ในการสร้างความเข้มแข็งสู่

ชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทยา ดวงธิมา. (2548). การอนุรักษ์ชุมชนไทเขิน บ้านสันก้างปลา จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการวางผังชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชราภรณ์ ช่างเหล็ก และวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2559). การจัดการชุมชนและพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นไทเขินบ้านต้นแหนน้อย อำเภอสันป่า

ตอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์มีชีวิต. ในการประชุมวิชาการวิจัยสร้างสรรค์ : สรรพศาสตร์ทาง

สถาปัตยกรรม, 19-20 ธันวาคม พ.ศ. 2559.

Ferreiro-Rosende, E., Fuentes-Moraleda, L., & Morere-Molinero, N. (2022). Architecture as Brand Identity in House

Museums: A Study of Galician Author’s House Museums. Cuadernos de Turismo, 50, 441-444.

Rapoport, A. (1994). Spatial Organization and the Built Environment, in an Companion Encyclopedia of

Anthropology: Humanity, Culture and Social life. Edited by Tim Ingold. New York: Routledge.