แนวทางการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์จากการทบทวนวรรณกรรม โดยการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของประเทศไทย ได้แก่ Thai Digital Collection (TDC) Thai Journals Online (ThaiJO) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อคัดเลือกผลงานวิชาการที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ มีแนวคิดและการนําเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ รวมทั้งมีการอ้างอิงที่ทันสมัยและมีความน่าเชื่อถือ จากนั้นนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าแนวทางการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์เป็นการศึกษาความเป็นพื้นถิ่นและอัตลักษณ์ของถิ่นที่มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการทางภูมิสถาปัตยกรรมในการออกแบบและแก้ปัญหา ซึ่งมีความหมายมากกว่าการหยิบยืมคุณลักษณะมาใช้โดยตรงเพียงเท่านั้น แต่มุ่งเน้นการตีความใหม่และการค้นหากระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการสร้างสรรค์งานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์ที่เหมาะสมกับบริบทสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยแสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์บริบท การเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน การปรับตัวตามสภาพอากาศและความยืดหยุ่น การบูรณาการองค์ประกอบทางวัฒนธรรม ความเปราะบางต่อระบบนิเวศ ความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลาย ความครอบคลุมและการเข้าถึงของผู้ใช้สอย ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ การศึกษา และความเปราะบางต่อสุนทรียภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2557). องค์รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 11, 177-213.
จักรวิดา จันทนวรางกูร. (2554). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์โบราณสถานเวียงลอ จังหวัดพะเยา.ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จามรี อาระยานิมิตสกุล. (2558). ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจนยุทธ ล่อใจ และวีระ อินพันทัง. (2562). ความเป็นพื้นถิ่นในงานสรรค์สร้าง ร่วมสมัย: พื้นที่ระหว่างใน-นอก. หน้าจั่ว: ว่าด้วย สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 34(1), A13-A33.
ชลธิชา เนียมนาภา. (2557). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาลิสา บุญมณี. (2561). การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า). ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐธิดา พุทธรักษ์. (2554). การพัฒนาภูมิทัศน์พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหา บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชา บุญค้ำ. (2563). ว่าด้วยภูมิสถาปัตยกรรม บทความคัดสรรในรอบ 3 ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นวณัฐ โอศิริ. (2545). ภูมิทัศน์พื้นถิ่น ภูมิปัญญาเพื่อการประหยัดพลังงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา หมู่บ้านตาลเหนือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. หนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการสาระศาสตร์, 6, 129-144.
นิธิ ลิศนันท์. (2544). แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนริมน้ำคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญาพร ศรีวรนันท์. (2558). แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์เมืองเพื่อการสัญจรในพื้นที่ย่านราชดำเนินกลาง. ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย จิตติวสุรัตน์ และฐปณี รัตนถาวร. (2565). การออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่เสียเปล่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของชุมชนเมือง. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 4(2), 51-64.
พีรยา บุญประสงค์. (2562). อัตลักษณ์ของถิ่นที่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารเก่าในเขตเมืองเก่า. วารสารวิจัย และสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 16(2), 31-48.
เพชรรัตน์ เมืองสาคร. (2561). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สำหรับโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมทินี โคตรดี. (2562). แนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมพื้นที่บึงคำศรี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 29(2), 19-33.
วันดี พินิจวรสิน. (2559). การส่งเสริมคุณค่าท้องถิ่นและความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 12(2), 64-81.
วิศรุต เนาวสุวรรณ์. (2546). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ลพบุรี. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรกิต วงศ์วิชิต. (2551). แนวทางวางผังบริเวณวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระ อินพันทัง. (2560). สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่น: การดำรงและการเปลี่ยนแปลง. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 30(2016), 126-142.
ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2549). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. วารสารวิจัยและ สาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 4(2), 141-154.
ศศิยา ศิริพานิช. (2554). ภูมิทัศน์พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: คณะเกษตร กำแพงแสน และ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน.
ศุภกิจ ยิ้มสรวล. (2561). แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวและภูมิสถาปัตยกรรม แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติประเภทพุน้ำร้อน. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 5(2), 100-129.
ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์. (2564). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภัชญา ปรัชญคุปต์ .(2552). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2548). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง เพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเมืองเก่านครราชสีมา. ปริญญาการ วางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนิดา ชินณะวงศ์. (2551). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์นครจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวคนธ์ สนธิมูล. (2556). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่นเพื่อสนับสนุนแนวคิดเมืองสีเขียว. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรศิริ ปาณินท์. 2546. เอกสารประกอบการอบรมระยะสั้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา. ระหว่างวันที่ 2-3 และ 9-10 สิงหาคม 2546. ห้องมหามาลาปราบปรปักษ์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัจฉราวรรณ อุดมคำ. (2554). การปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางการท่องเที่ยว กราบพระ 9 วัด เทศบาลนครอุบลราชธานี. ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพิกา อำลอย, ศุกภกุล เรืองวิทยานุสรณ์, วรงค์ วงศ์ลังกา, แผ่นดิน อุนจะนำ, อรัญญา ศิริผล, และระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2565). การศึกษาภูมิทัศน์พื้นถิ่นล้านนาในบริบทชุมชนของนักวิชาการไทยในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2545-2564. วารสารภูมิสถาปัตยกรรม, 4(1), 62-81.
Meinig, D.W. (1979). The beholding eye: ten versions of the same scene. In The Interpretation of Ordinary Landscapes: Geographical Essays (pp. 33-48). New York, NY: Oxford.
Meinig, D.W., and Jackson, J.B. (1979). Introduction. In The Interpretation of Ordinary Landscapes: Geographical Essays (pp. 1-7). New York, NY: Oxford.
ออนไลน์
สำนักงานราชบัณฑิตยสถา. (2550). อัตลักษณ์. www. royin.go.th.