แนวทางการออกแบบห้องเตรียมพยาน กรณีศึกษา สำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

PASIT LEENIVA
Krittiya Piya-aroon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งานและจิตวิทยาสภาพแวดล้อมภายในห้องเตรียมพยาน (2) เพื่อสรุปองค์ประกอบของการออกแบบภายในพื้นที่ห้องเตรียมพยาน และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบห้องเตรียมพยานที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและจิตวิทยาสภาพแวดล้อม การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 32 คน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรจากสำนักงานคดีปกครอง, สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ), มูลนิธิ For Freedom International กลุ่มอัยการจังหวัดภูเก็ต และ บุคคลทั่วไปที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม การเก็บข้อมูลวิจัยใช้แบบสอบถามร่วมกับการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) แบบสอบถามแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลบุคคลทั่วไป ส่วนที่ 2 องค์ประกอบ
ในการออกแบบ และส่วนที่ 3 การประเมินการรับรู้ (ความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัย, ความผ่อนคลาย และความรู้สึกเป็นมิตร) ผลการวิจัยสรุปองค์ประกอบการออกแบบออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ พื้น ผนัง เพดาน ขนาดของช่องเปิด รูปแบบแสง เฟอร์นิเจอร์ และภาพรวมบรรยากาศ ข้อมูลจากองค์ประกอบการออกแบบนำมาสรุปเป็นแนวทางในการออกแบบทั้งหมด 3 แนวทาง ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยเห็นว่าแนวทาง Comfort (Comfortable & Natural Look)  เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับห้องเตรียมพยาน คะแนนในด้านการรับรู้แจกแจงได้ดังนี้ ให้ความรู้สึกปลอดภัย ( =4.41; S.D. 0.87) รู้สึกผ่อนคลาย ( =4.31; S.D. 0.90)รู้สึกเป็นมิตร ( =4.16; S.D. 0.92) และ ความน่าเชื่อถือ ( =4.13; S.D. 0.87)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ปิยะอรุณ และคณะ. (2563). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาพัฒนาพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหลักแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมป์.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2552). คู่มือปฏิบัติวิชาชีพการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์.

พิชญ์สินี วงศ์ปราโมทย์. (2557). การคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนในการดำเนินคดีอาญา และศึกษาปัญหาและผลกระทบอันเกิดจากการไม่โอนคดีเด็กหรือเยาวชน ตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มีชัย ศรีเจริญ และคณะ. (2563). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบห้องสอบสวนเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

วิมลสิทธ์ หรยางกูร. (2535). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร พิทักษ์เผ่าสกุล. (2563). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนตามกระบวนการยุติธรรม. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(3), 92-105.

อรชา วิเศษโกสิน. (2551). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพของพนักงานเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ออนไลน์

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่ต้องหาว่ากระทำการอันกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด แต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องรับโทษทางอาญา พ.ศ. 2555. http://www.m-society.go.th.

คณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต. (2560). คู่มือ TICAC 101. http://ticac.police.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการอัยการ. (2560). ข้อมูลสำนักอัยการทั่วประเทศ. http://www.cmiss.ago.go.th /index.php/2014-07-26-08-23-51.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (ม.ป.ป.). พนักงานอัยการ (Attorney). [https://www.doe.go.th /prd/assets/upload/files/vgnew_th.