วัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

Main Article Content

์Ngampetch Ampornwattanapong

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ แนวคิด นัยยะ และภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบภาคใต้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแนวคิด นัยยะ และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบภาคใต้ 3) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงสร้างสรรค์ วิธีดำเนินการวิจัย คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบ และการลงพื้นที่ พบว่า วัฒนธรรมอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบในพื้นที่ภาคใต้มีความคล้ายคลึงกัน จากการศึกษาความต้องการและศักยภาพด้านการตลาด เพื่อประเมินทิศทางการออกแบบ และความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว ด้วยแบบสอบถาม 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีความรู้ด้านวัฒนธรรมอาหาร ผู้ผลิตงานหัตถกรรม และนักท่องเที่ยว โดยผลจากการสอบถามพบว่า 1) การประเมินศักยภาพด้านการตลาด และความต้องการผลิตภัณฑ์ ผลประเมิณที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การตัดสินใจเลือกซื้อตามประเภทของผลิตภัณฑ์ 2) ประเมินความต้องการและทิศทางการออกแบบในประเด็นสำคัญ คือ รูปแบบ รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอย การสื่อความหมาย วัสดุ การผลิต และบรรจุภัณฑ์ นำมาสู่กระบวนการออกแบบและพัฒนาต้นแบบ โดยคำนึงถึงศักยภาพกลุ่มผู้ผลิต และผลประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.50 (S.D = 0.57) นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ และการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว โดยการขับเคลื่อนของชุมชน สู่การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤช เหลือลมัย. (2560). “แกงสมรม”แกงของคนภาคใต้ ที่มาแห่งกุสุมรสอันหลากหลาย. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม 2560 (ฉบับที่ 1):

-69

ชาญกิจ ชอบทำกิจ. (2523). เดือนสิบ’ 23 ที่ระลึกในการจัดงานบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2522 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช.

กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ดิเรก พรตเสน. (2527). ประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช. พิมพ์ครั้งที่ 1. วัดพระธาตุวรมหาวิหาร, กรุงเทพฯ.

นิตยา กนกมงคล. (2552). งานบุญสารทเดือนสิบ: เวลาแห่งการอุทิศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมศิลปากร, กรุงเทพ

บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้ : ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปรีชา นุ่นสุข. (2540). ประเพณีสารทเดือนสิบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. องค์การค้าคุรุสภา, กรุงเทพฯ.

ปัทมา กระแสเสวตร, จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2558). การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบ

และบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรม พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ

ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(2), 70-79.

ประทับใจ สุวรรณธาดา และศักดิ์ชาย สิกขา. (2561). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิ

ปัญญา : ในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนบน. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 137-155.

ประเสริฐ ศัลรัตนา. (2531). ของที่ระลึก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ผจญ มีจิตต์. (2558). บุญสารทเดือนสิบในชุมชนชะอวด. สารนครศรีธรรมราช (ฉบับพิเศษเดือนสิบ 58): 53-72.

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์, อำไพ แสงจันทร์ไทย. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงวัฒนธรรม ประเภทพระดินสำหรับแหล่ง

เรียนรู้การทำพระเครื่อง นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย

และงานสร้างสรรค์, 6(1), 218-245

ศรีชนา เจริญเนตร. (2554). การศึกษาและพัฒนารูปแบบอัตลักษณ์ล้านนา เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ล้านนา.

ศิลปกรรมสาร. 6(1), 106-130.

ศิริญญา อารยะจารุ. (2556). การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้แนวคิดใน

การออกแบบอย่างยังยืนกลุ่มทอผ้าลายโบราณบ้านทัพคล้าย จังหวัดอุทัยธานี. ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

สมพงษ์ เกรียงไกรเพชร. (2540). บันทึกประเพณีภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, กรุงเทพฯ.

สมศรี แสงแก้ว. (2552). เที่ยวงานบุญเดือนสิบเมืองคอน. วารสารวัฒนธรรมไทย (9), 23-26

อุบลศรี อรรถพันธุ์. (2528). วัฒนธรรมการกินของชาวใต้. ศูนย์วิทยทรัพยากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: โครงการส่งเสริมหนังสือตาม

แนวพระราชดำริ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ออนไลน์

สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. (2559). วันชิงเปรต. ประเพณีสารทเดือนสิบ.

https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/e294f8ad.

Justin, B. (2019). The art of emotions. 3 levels of emotional design by Don Norman. https://medium.muz.li/the-

art-of-emotion-normans -3-levels-of-emotional-design-88a1fb495b1d