การปรับปรุงและออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภายในห้องพักอาศัยของหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

Naruedee Sikaewmee

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้งานหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและออกแบบหอพัก เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่าตามวิธีการของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ คือ ค่ารอยละ, คาเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น (PNI) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักภายในมหาวิทยาลัย กล่าวคือ กลุ่มคนเจนเนอเรชั่นซี จำนวน 300 คน วิธีการดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง และเสนอแนวทางในการออกแบบ ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมและความต้องการ พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวและการเว้นระยะห่างส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก มีค่า PNI เท่ากับ 0.78 และ 0.62 ตามลำดับ และต้องการพื้นที่พักผ่อน พื้นที่รับประทานอาหาร และพื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว มีค่า PNI เท่ากับ 0.77, 0.68, และ 0.46 ตามลำดับ ใช้สีประจำมหาวิทยาลัย และไม้เป็นวัสดุหลักในการตกแต่ง รวมถึงใช้รูปแบบโมเดิร์นในการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.15, 3.11, และ 3.84 ตามลำดับ ผลการวิจัยด้านการออกแบบ คือ การใช้เตียงสูงอรรคประโยชน์เป็นเฟอร์นิเจอร์หลักในห้องพักช่วยส่งเสริมให้เกิดภาวะเป็นส่วนตัวและการเว้นว่างส่วนบุคคล เพื่อสร้างพื้นที่เซฟโซนให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์และสามารถเป็นตัวเองได้เต็มที่อย่างมีความสุขแม้ว่าจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นก็ตาม เป็นการสอดแทรกพื้นที่ส่วนตัวในพื้นที่ส่วนรวมเพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นซี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตพร ห้าวเจริญ. (2555). ปัจจัยเชิงกายภาพของหอพักกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 14(1), 13-24.

นรินทร์ เอี่ยมสะอาด. (2563). แนวทางการออกแบบโครงการที่พักอาศัยและหน่วยพักอาศัยเพื่อรองรับพฤติกรรมกลุ่มคนเจเนอเรชั่นซี (Z). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิรันดร ทองอรุณ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์และพื้นที่ว่าง: คุณภาพของการปรับเปลี่ยนที่ว่าง กิจกรรม และบริบท. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 59(1), 105-118.

นนทพจน์ เดชะชาติ. (2560). ความแตกต่างของลักษณะที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับคนในแต่ละเจเนอเรชั่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาสิต ลีนิวา. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และการใช้พื้นที่. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

พุทธิกันต์ สมมาตย์. (2554). การสร้างสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 4(1), 95-118.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2564). เอกสารคูมือนักศึกษาหอพักสวัสดิการนักศึกษา สํานักงานหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนตรี แย้มกสิกร. (2542). รูปแบบของหอพักนักศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, โครงการส่งเสริมงานแนะแนวและสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

เรืองวิทย์ ลาธิ, พัชรีรัต หารไชย, และเอกสิทธิ์ เทียนมาศ. (2565). บ้านเพื่อทุกคนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร.

การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 (น. 883-896). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549) .พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. กรุงเทพฯ: สนพ.แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2530). งานบุคลากรนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการอุดมศึกษาคณะครุศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศศิภา โรจน์วีระสิงห์. (2554). แนวทางการออกแบบหน่วยพักอาศัยขนาดเล็กพิเศษที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของคนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2564). เจาะเทรนด์โลก 2022: READY SET GO. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.

สุวรรณวัฒน์ ประทานพร. (2555). หลักการออกแบบทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: บริษัทสกายบุ๊กส์จำกัด

อภิวัตร นามทอง, (2552). วัสดุตกแต่งภายในและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด.

Carol Bell. (2019). Living with Style: The New Generation of Interior Design. Massachusetts: Rockport Incorporated.

Edward Hall. (1966). The Hidden Dimension. New York: Bantam Doubleday Dell Publishing Group.

Grail Research. (2011). Consumers of Tomorrow: Insights and ObservationsAbout Generation Z. U.S.A.: Grail Research. Horowitz Mardi, Duff Donald, and Stratton Lois. 1964. Body-buffer zone. Archives of General Psychiatry, 11(6), 651–656.

ออนไลน์

ปิยะฤทธิ์ พลายมณี. (2557). ระยะห่างระหว่างบุคคล: Personal space.http://piyarith- tell.blogspot.com /2014/04/

personal-space.html.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2564). ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. https://www.rmutt.ac.th/ history-of-rmutt/.

สัมมา คีตสิน. (2553). พฤติกรรมการซื้อบ้านที่เปลี่ยนแปลงไปตามเจนเนเรชั่น.https://www.posttoday.com /business/15232.

Alljitblog. (2564). Safe Zone คืออะไร? ไม่ใช่สถานที่ แต่คือ ความรู้สึก. https://www.alljitblog.com /?p=1838.

Quentin Humphrey. (2021). WGSN | Youth Culture 2021.https://www.wgsn.com/insight /p/article/90805?lang=en .