การศึกษาสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่ -

Main Article Content

สุนันท์ มนต์แก้ว

บทคัดย่อ

      การประมาณราคาแบบละเอียดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการประมาณราคางานก่อสร้าง และต้องใช้ระยะเวลานานในการหาปริมาณวัสดุ ความถูกต้องของปริมาณวัสดุจึงมีความสำคัญในการกำหนดราคางานก่อสร้าง ดังนั้นหากมีเกณฑ์หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประมาณราคางานก่อสร้างใช้งานได้ง่ายและสะดวก ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงได้  ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างระบบพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่ เป็นกรณีศึกษา จากนั้นนำค่าความสัมพันธ์ด้านสัดส่วนที่ได้ไปทดสอบกับอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกัน นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับการประมาณราคาแบบละเอียด พบว่า ปริมาตรคอนกรีตและปริมาณเหล็กเสริมที่ได้มากกว่าค่าที่ได้จากการประมาณราคาแบบละเอียด ร้อยละ 5.86 และ 8.95 ตามลำดับ ค่าที่ได้แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในตรวจสอบปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตในเบื้องต้นของอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาในการทำงานลงได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2550). หลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กรมบัญชีกลาง.

จีระพันธ์ จันทร์วิจิตร และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (2560).การประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้นตามระดับราคาขายคอนโดมีเนียมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, 18-20 กรกฎาคม 2560.

เชิดชัย กิจกัญจนาสน์. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนองค์ประกอบหลักในงานก่อสร้างอาคารพักอาศัย 2 ชั้น สำหรับตรวจสอบการประมาณปริมาณงาน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

โชติไกร ไชยวิจารณ์, พิชญุตม์ จรัสบำรุงโรจน์, ธีรฒา วรเจริญสิน และไกรศร วงศ์โสภิต. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณวัสดุต่อหน่วยของอาคารพักอาศัย 5- 8 ชั้น และ 3 - 5 ชั้น. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(2), 95-106.

ประจักษ์ หล้าจางวาง. (2554). การประมาณราคาต่อหน่วยพื้นที่แบบรวดเร็วโดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างประกอบ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เทิดธิดา ทิพย์รัตน์, ณรงค์ ชัยสงเคราะห์ และนนทฉัตร กุลประภา. (2560). การประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยด้วยการประยุกต์ใช้ ANFIS. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, 18-20 กรกฎาคม 2560.

พงศ์สยาม กันจินะ. (2557). แบบจำลองการประมาณราคาอาคารพักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิเคราะห์ตามสัดส่วนชนิดพื้นที่ใช้สอย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สันติ ชินานุวัติวงศ์. (2544). การประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารโดยใช้อัตราส่วนองค์ประกอบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก. วิศวกรรมสารเกษตรศาสตร์, 15(44), 52-61.

สุนันท์ มนต์แก้ว และชูเกียรติ ชูสกุล. (2565). การศึกษาสัดส่วนของปริมาณคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในอาคารต้านทานแผ่นดินไหว กรณีศึกษา: อาคารเรียน 4 ชั้น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.[ออนไลท์]. ได้จาก: DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.05.004 [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565}.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2548). แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

อภิศักดิ์ ทับทิมทอง, การุญ ใจปัญญา และศักดา กตเวทอารักษ์. (2560). การศึกษาราคาต่อหน่วยพื้นที่งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, 18-20 กรกฎาคม 2560.

Handyman. (2549). Professional Take off & Take Cost ประมาณราคาเก่ง...รวยก่อน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: นวสาส์นการพิมพ์.

Mubarak, A., Tripoli, T., & Nurisra, N. (2018).The unit price implication of reinforcement usage in beam reinforced concrete construction. Aceh International Journal of Science and Technology, 5(1), 24-31.

Ramli, M., Adnan, A., Kadir, A., & Alel, M. (2017). Cost comparison for non-seismic (EC2) and seismic (EC8) design in different ductility class. Journal of Civil Engineering and Geo- Environmental, 1(1), 38-42.

Regdon, G., (1972). Pre-determination of Housing Cost.” Journal of Building International, 1, 1-15, 1972.

Smrati, M., & Mohd, K. (2018). Cost modeling of RC building designed in different seismic effects. International Research Journal of Engineering and Technology, 5(4), 4532-4537.

Sunun M., and Chookiat C. (2021). Develop an Estimating Factor to Help Estimating Masonry Wall Area of Two Stories Houses. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports, 24(2), 115-124.