การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องพักของโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

Main Article Content

Naruedee Sikaewmee

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องพักของโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการวิจัย คือ 1) การศึกษาข้อมูลการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสำหรับผู้สูงอายุและมาตรฐานการออกแบบโรงแรม 2) การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอเป็นผังพื้นจำนวน 6 รูปแบบ, และ 3) การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประเภทแบบตรวจสอบและแบบสอบถามประเภทแบบมาตราส่วนประมาณค่า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 55–65 ปี จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบผังพื้นที่กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจสูงที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.2326 สรุปผลการวิจัยได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีงบประมาณในการท่องเที่ยวประมาณ 5,001- 10,000 บาท มีรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเป็นคู่ (2 คน) มีลักษณะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ต้องการความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว คิดเป็นร้อยละ 32.67, 44.00, และ 57.33 ตามลำดับ ด้านการออกแบบต้องการให้ตกแต่งด้วยวัสดุประเภทไม้ ใช้โทนสีธรรมชาติ และมีรูปแบบการตกแต่งแบบคลาสสิค คิดเป็นร้อยละ 34.67, 44.00, และ 24.00 ตามลำดับ โดยแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องพักของโรงแรมเพื่อผู้สูงอายุของการวิจัยนี้ ยึดตามมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวประเภทโรงแรมระดับ 5 ดาว และข้อแนะนำการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุเป็นหลัก โดยอ้างอิงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร. (2558). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. งานวิจัย

ภายใต้แผนงานวิจัยการบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ.

(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย สกว.

ขจิต เมตตาเมธา. (2564). การออกแบบเพื่อมวลชน Universal design. นิตยสารสสวท., 49(228), 36-40.

เชตวริน สินธุวารกุล. (2558). แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของโรงแรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและพฤติกรรมการใช้

งานของนักท่องเที่ยวสูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557, 26 สิงหาคม). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. กรุงเทพธุรกิจ, หน้า 1.

จักรพงศ์ โชติกเสถียร, ปิยะฉัตร ปวงนิยม, และนุชนาถ โกมลนิละ (2564). นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไทยและการหวนระลึกถึงอดีตใน

โรงแรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 16(55), 1-12.

ดารารักษ์ ปัทมกาญน์. (2554). การออกแบบสไตล์การตกแต่งภายในโรงแรมเพื่อนักท่องเที่ยวสูงอายุ. (รายงานการวิจัย). เพชรบุรี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, ประวิตร เจนวรรธนะกุล, กุลธิดา เตชวรสินสกุล, กิตติอร ศิริสุข, และชัยญาสิทธิ์ ศันสนะวีรกุล. (ม.ป.ป.). ข้อแนะนำการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

ธนานพ รัตนอรัญ. (2552). การออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงแรมดอย ดาวดึงส์. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ปิยฉัตร ทองแพง. (2554). รูปแบบการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุภาคกลาง. วารสารศรีวนาลัยวิจัย.

(2), 70-75.

พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์ และวัชรากร มยุรี. (2560). การจัดการสภาวะแวดล้อมของโรงแรมที่พักเพื่อรองรับผู้ใช้บริการสูงอายุใน

แนวทางอารยสถาปัตย์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(พิเศษ), 293-304.

ภูดิษ นากล. (2555). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุวัยเกษียณในภาคเหนือตอนบน. (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเพชรบูรณ์.

ภัทฐิตา พงศ์ธนาม, สุจิตรา อู่รัตนมณี และพิมลมาศ ประเสริฐสุข. (2565). แนวทางการประเมินและออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อม

ทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการ

ออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 9(1), 130-153.

ภูมิ โชคเหมาะ. (2552). กฎหมายการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

รามคำแหง

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(1), 12-28.

วิไลพร ตรีพรชัยศักดิ์. (2555). แนวทางการปรับปรุงอาคารในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ กรณีศึกษา

โรงแรมในเขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรภา อำนาจกลาง (2558). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน, ครินธร ฐานันดรสุข, และสานนิตย์ เจริญบุญประเสริฐ. (2564). การท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: การสำรวจข้อจำกัด

ทางการท่องเที่ยว กิจกรรมนันทนาการและความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยว. วารสารสังคมศาสตร์. 10(1), 119-131.

เสาวรัตน์ บุษรานนท์ และสุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2561). แนวทางการพัฒนาโรงแรมสำหรับนักท่อง เที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารเทคโนโลยี

ภาคใต้. 11(2), 229-234.

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. (2561). ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย. วารสารข้าราชการ. 60(4), 3-25.