นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ สำหรับกลุ่มซีเนียล เจเนอเรชัน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น เทรคเกอร์-เอลเดอลี และการออกแบบฟังก์ชันนอลแฟชั่น

Main Article Content

Warantee Chalardsoontornwatee

บทคัดย่อ

งานวิจัยการสร้างสรรค์สินค้านวัตกรรมเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ (Active Street wear) สำหรับกลุ่มซีเนียลเจเนอเรชั่น (Zennials Generation) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาแนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายแอคทีฟสตรีทแวร์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน เทรคเกอร์ เอลเดอลี และหลักการออกแบบฟังก์ชันนอลแฟชั่น (2) หาแนวทางในการสร้างสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอคทีฟสตรีทแวร์ สำหรับตลาดกลุ่มเป้าหมาย ซีเนียล เจเนอเรชัน โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งกรอบการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ข้อมูลด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน แทรกเกอร์ เอลเดอลี และหลักการแนวคิดฟังก์ชันนอลแฟชั่นดีไซน์ ร่วมกับเครื่องแต่งกายแฟชั่น (2) ข้อมูลด้านตลาดสินค้าแฟชั่นประเภท แอคทีฟสตรีทแวร์ ประกอบ กลุ่มผู้บริโภค ซีเนียล เจเนอเรชัน (3) ข้อมูลด้านการออกแบบสร้างสรรค์การออกแบบสินค้าแฟชั่นแอคทีฟสตรีทแวร์ ร่วมกับแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นจากแนวโน้มแฟชั่นฤดูร้อนปี 2022 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างคนไทยจำนวน 400 คน มีผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ตามกรอบการศึกษา พบว่า (1) รูปแบบเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับการประยุกต์เทคโนโลยีฯ นั้น คือลักษณะโครงร่างที่ไม่แนบเนื้อหรือเป็นทรงหลวม มีรายละเอียดจำเพาะที่มีกรอบพื้นที่กว้างโดยประมาณ 1 – 2 ตารางเซ็นติเมตร บริเวณที่เหมาะสมกับการฝังแผงวงจรหรือชิพ ได้แก่ ส่วนของบริเวณเครื่องแต่งกายที่เป็นแถบ เช่น ขอบชาย ส่วนสาบ หรือ กระเป๋าเสื้อ โดยการวัดแคลอรีในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายของเทรคเกอร์ เอลเดอลี จะเป็นจุดขายสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับกลุ่มสินค้าใหม่ (2) กลุ่มซีเนียล เจเนอเรชันในงานวิจัยในงานวิจัยของตราสินค้าใหม่ คือกลุ่มที่มีความชื่นชอบการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ โดยมีราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและระดับชั้นของตราสินค้าอยู่ในระหว่างช่วงราคา 2,000 – 10,000 บาท แบ่งออกเป็นช่วงราคาของกลุ่มสินค้าเบสิกและกลุ่มสินค้าทำซ้ำจะอยู่ระหว่าง2,000 – 5,000 บาท กลุ่มสินค้าแฟชั่นเหมาะสมในช่วงราคา 5,000 บาทขึ้นไป มีช่องทางการจัดจำหน่ายประกอบไปด้วยทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งตราสินค้าทอมมี ฮิลฟิงเกอร์ (Tommy Hilfiger) และตราสินค้าเวกิ้งบี (Wakingbee) จัดเป็นตราสินค้าที่เป็นคู่แข่งใกล้เคียงกับตราสินค้าของผู้วิจัยมากที่สุด แต่อยู่ในการแบ่งกลุ่มตลาดย่อยที่ต่างกัน (3) หลักการแผ่ออกและการเก็บเข้าและหลักการรวมและการแยก จะเป็นแนวทางหลักของการของการสร้างสรรค์กลุ่มสินค้าใหม่ในสัดส่วนความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเฉลี่ยเทียบเคียงกัน อัตลักษณ์ของตราสินค้าใหม่มุ่งเน้นการนำเสนอภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีบุคลิกภาพ ทะมัดทะแมง คล่องแคล่ว ปราดเปรียว ว่องไว โดยนำเสนอเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายเป็นเกณฑ์หลักของการนำเสนอ สำหรับในส่วนของการเลือกแนวโน้มแฟชั่นมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าในคอลเล็คชัน ผู้วิจัยใช้แนวทางหัวข้อการผสมผสานเทคโนโลยีเครื่องแต่งกายลำลองเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันในรูปแบบ Casual Smart look เป็นแนวทางการออกแบบโดยใช้การความต้องการและบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมายเป็นเกณฑ์การเลือกหัวข้อแนวทาง จากนั้นผู้วิจัยจึงขึ้นตัวอย่างต้นแบบสินค้า อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา. (2565). ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม.

จินตนา สีหาพงษ์. (2556). RFID เทคโนโลยีอัจฉริยะกับการจัดการคลังสินค้ายุคใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 23(2), 51-53.

ชูพรรค แพงไธสง. (2565). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.

ฐานิญา ส่งเสริม. (2565). ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางการตลาดสินค้าแฟชั่นประเภทแอคทีฟสตรีทแวร์สำหรับกลุ่มซีเนียล เจเนอเรชัน. สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.

ธีร์ โคตรถา. (2564). การสร้างสรรค์และพัฒนากลุ่มสินค้าแฟชั่นสตรีมุสลิมสำเร็จรูป กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมุสลิม บ้านรานอ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 3010.

ธีร์ โคตรถา และ ชูพรรค แพงไธสง. (2564). แนวทางการสร้างสรรค์ พัฒนา เพิ่มมูลค่าสินค้า หัตถกรรมสิ่งทอท้องถิ่นสู่ ตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์และทอผ้า บ้านทุ่งแสมอำเภอหนอง หญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 3(3), 60.

ณหทัย ปิ่นแก้ว. (2565). ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม.

พิมพ์ทอง ปรีเปรม. (2565). ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม.

แพรวา จำปาทอง. (2565). ข้อมูลด้านการออกแบบสร้างสรรค์การออกแบบสินค้าแฟชั่น. สัมภาษณ์, 1 สิงหาคม.

สุนิสา ศรีวัง. (2565). ข้อมูลด้านการออกแบบสร้างสรรค์การออกแบบสินค้าแฟชั่น, สัมภาษณ์, 1 สิงหาคม.

ภาษาต่างประเทศ

Deepti, H. (2560). Functional Clothing – Definition and Classification, Indian Journal of Fibre & Textile Research, 36(1), 321 - 326.

Finkenzeller, K. (2003). RFID handbook: fundamentals and applications in contactless smart cards and identification, England: John Wiley & Sons, 2nd-edition.

Palmer, H. (2563). Reform This Moment, Generation Focus, Zennials : The In-Between Generation, TCDC Connect, 1(1), 89 - 93.

Teerada, C., Wasana. T. (2019). Visual Merchandising in SportsWear Retail, Communication and Media in Asia Pacific (CMAP), 2(1), 94 – 95.

Ross, T. (2017). Article. Functional Fashion Design, Transforming Processes to Improve Outcomes, Fashion-Scope : Art & Design, 15(1), 8 - 9.

Roy, S. B., & Basak, M. (2011). RFID technology in libraries and information centers: Beginning of a new era. International journal of Information dissemination and technology, 1(4), 249-252.

WGSN. (2021). Zennials : The In-Between Generation. สืบค้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564,

ได้จาก : https://www.creativethailand.org/new/article/trend/32629/th#Zennials.

WWD. (2561). Tommy Hilfiger Launches Tommy Jeans Xplore Smart-chip Technology. สืบค้น เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564, ได้จาก : https://wwd.com/fashion-news/fashion-scoops/tommy-hilfiger-launches-tommy-jeans-xplore-1202764296/