การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเพื่อการวิเคราะห์ด้านคมนาคมขนส่งสำหรับการวางแผนผังเมืองรวม

Main Article Content

ณัฐพงษ์ เพชรละออ

บทคัดย่อ

การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเพื่อการวิเคราะห์ด้านคมนาคมขนส่งสำหรับการวางแผนผังเมืองรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยผู้ปฏิบัติงานหรือนักวิเคราะห์ทางด้านคมนาคมขนส่งสำหรับการวางแผนผังเมืองรวมโดยอยู่บนพื้นฐานข้อมูลด้านกายภาพ 1:4,000 และกรอบการทำงานของสำนักวิศวกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ IUTOD-TRAN สามารถคาดการณ์ปริมาณการเดินทางที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในปีอนาคตบนโครงข่ายคมนาคมขนส่งด้วยวิธีแบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน (4 step Model) และผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมได้จากหลากหลายอุปกรณ์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านลิขสิทธิ์ ได้ดำเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมประยุกต์ฯ เปรียบเทียบกับโปรแกรม CUBE โดยใช้พื้นที่ผังเมืองรวมหัวหินเป็นพื้นที่ศึกษาตัวอย่างพบว่า กรณีการเดินทางในปัจจุบันค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์จากโปรแกรมประยุกต์ฯ กับปริมาณการจราจรที่ได้จากการสำรวจเท่ากับ 0.67 มากกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์จากโปรแกรม CUBE กับปริมาณการจราจรที่ได้จากการสำรวจเท่ากับ 0.59 ส่วนกรณีการคาดการณ์ในปีอนาคตค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์จากโปรแกรมประยุกต์ฯ และโปรแกรม CUBE อยู่ระหว่าง 0.62 – 0.71 สรุปได้ว่า โปรแกรมประยุกต์ฯ สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านคมนาคมขนส่งได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2554). เกณฑ์การตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำข้อมูลกายภาพเพื่อการวางผังเมือง. [ออนไลน์์]. ได้จาก: http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_urban/standard-map JUNE2011.pdf. [สืืบค้้นเมื่่อ 25 กันยายน 2565].

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2560). คู่มือและแนวนโยบายการศึกษาผลกระทบด้านจราจรและขนส่งโครงการจัดทำค่ามาตรฐานและกำหนดแนวทางการศึกษาผลกระทบด้านการจราจรและขนส่งเพื่อการผังเมืองสำหรับการพัฒนาโครงการในประเทศไทย. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพ.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (2561). โครงการพัฒนาแบบจำลองสภาพการจราจรพื้นที่บริเวณโดยรอบแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี. รายงานฉบับสมบูรณ์ ตุลาคม 2561. กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพ.

เกริกเกียรติ อังคณาวิศัลย์ และเหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์ (2561). A Software for Traffic Forecasting on Road Network. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 41(3), 311–322.

เจษฎา โพธิ์จันทร์, วชิระ วิจิตรพงษา, ปรีดา พชยาพันธ์ และนัฐพร นวกิจรังสรรค์ (2561). การพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งตามวิธีการตัดสินใจแบบต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน เพื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่ใช้รถขนส่งสาธารณะในมหาวิทยาลัย. วารสารวิจัย., 37(6), 805–814.

พัชราภรณ์ ยอดสุรางค์และวเรศรา วีระวัฒน์ (2562). แบบจำลองสภาพจราจรระบบขนส่งสาธารณะ:กรณีศึกษาเมืองภูเก็ต. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม., 15(1), 1-16.

พนกฤษณ คลังบุญครอง และอาทิตย์ ทิพย์พิชัย (2548). การพัฒนาแบบจำลองการวางแผนการขนส่งในเขตเมือง:กรณีศึกษาหนองคาย. วิศวกรรมสาร มข., 32(5), 675 – 689.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2559). โครงการจัดทำแผนพัฒนามาตรฐานด้านการจัดระบบการจราจรในเมืองภูมิภาค. [ออนไลน์์]. ได้จาก: http://www.phetchaburi.go.th/traffic/traffic1.pdf. [สืืบค้้นเมื่่อ 10 กันยายน 2565].

Ortuzar, J.D and Willumsen, L.G. (1990). Modeling Transport. New York: John Wiley&sons