การบันทึกภาพลายเส้นทางสถาปัตยกรรมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองโคราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการเขียนภาพลายเส้นทางสถาปัตยกรรมกับชุมชนและเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์สู่สาธารณชนส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองโคราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างด้านสถานที่คัดเลือกตามเกณฑ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากผู้มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบบันทึก และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก จำแนกข้อมูลและหาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า การเขียนภาพลายเส้นด้วยการสเก็ตช์เชิงสังเกตเป็นเทคนิคการบันทึกข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรมกับวิถีชุมชนที่ปรากฏ ทำความเข้าใจบริบทเมืองเก่าโคราชซึ่งผสมผสานวัฒนธรรม เก็บความทรงจำเรียบเรียงเป็นภาพ วิธีการผสมผสานเขียนมือบนดิจิทัล เอื้อต่อการบันทึกข้อมูลตามยุคสมัย ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงสายตา ความคิด จิตใจ และมือ เป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนความคิด ลายเส้นเป็นภาษาสากลในการสื่อสารอย่างมีสุนทรียะ เผยแพร่หรือต่อยอดได้ในหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ทั้งเชิงวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ที่แฝงสาระสำคัญทางวัฒนธรรม สะท้อนความงามของเมือง สร้างการรับรู้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองโคราช มีผลกระทบหลายมิติต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กตัญญู หอสูติสิมา. (2545). แนวทางการพัฒนาทางกายภาพบริเวณรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นคร ราชสีมา. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรนันท์ เงินช้าง. (2561). ชัยนาท : รูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) , 9(1), 72.
รังสิมา กุลพัฒน์ และคณะ. (2562). เมืองนครราชสีมา : การศึกษาเมืองเก่าผ่านประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานและมรดกทางสถาปัตยกรรม. หน้าจั่ว, 16(1), 70.
วัชรี วัชรสินธุ์. (2555). เทคนิคการเขียนภาพลายเส้นในงานสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2017/ 08 /suddan-2558.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 ตุลาคม 2563].
อรรณพ พลชนะ. (2561). พัฒนาการของงานเขียนทัศนียภาพกับคุณภาพการสื่อสารแนวคิดงานออกแบบ. เจ-ดี : วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 5(2), 131-147.
เอกพล สิระชัยนันท์. (2555). สถาปัตยกรรม:ความคิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วีพลัสกรุ๊ป (ไทยแลนด์).
Archdaily. (2021). Top 11 Architectural Sketch Educators. [Online]. Retrieved from https://www.archdaily.com/974048/top-11-architectural-sketch-educators?fbclid=IwAR1qujHGrOHzEyaztp1IJ5AdSNFOZ8KGk9tDtX_5QT1JTEU0CH3t5QjpOW8 [accessed 15 January 2022].
Cullen, G. (1961). Townscape. London: The Architectural Press.
Drew Plunkett. (2014). Drawing for Interior Design. Secound edition published. China:Laurence King publishing Ltd.
Dsign Something. (2022). เพราะอะไรสถาปนิกถึงไม่ควรหยุดสเก็ตช์งานด้วยมือ. [Online]. Retrieved from https://www.facebook.com/DsignSomething/posts/pfbid02NeoEpBX94mvLPxgSHgEXJphCV3gX6BGSMyjjAUaK1bE3YKFevviSDHeVA13sXaml [accessed 18 July 2022].
Eric Baldwin. (2021). 5 Types of Sketching All Architects Should Know. [Online]. Retrieved from https://architizer.com/blog/inspiration/collections/5-types-of-archi tectural-sketching/ [accessed 22 July 2022].
Mo Zell. (2008). The Architectural Drawing Course. First publishing. United Kindom: Thames and Hudson Ltd.