วิเคราะห์แนวคิดการออกแบบวัดปทุมวนารามของรัชกาลที่ 4 ด้วยเทคนิคการสืบสวนทางสถาปัตยกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดของรัชกาลที่ 4 ในการออกแบบสร้างวัดปทุมวนารามด้วยเทคนิคการสืบสวนทางสถาปัตยกรรม พบว่าแนวคิดหลักที่ใช้ออกแบบวัดปทุมวนารามคือ แนวคิดสัตตมหาสถาน โดยสัญลักษณ์แทนสัตตมหาสถานทั้งเจ็ดในวัดปทุมวนาราม คือ 1) โพธิบัลลังก์: หน้าบันทิศตะวันออกของพระวิหาร 2) อนิมิสเจดีย์: พระพุทธรูปยืนท้ายวิหาร 3) รัตนจงกรมเจดีย์: ทางเดินจงกรมระหว่างโพธิฆระกับอนิมิสเจดีย์ 4) รัตนฆรเจดีย์: บุษบกประดิษฐานพระเสริมในพระวิหาร 5) อชปาลนิโครธ: ซุ้มแท่นพระสายน์ในพระอุโบสถที่มีฉัพพรรณรังสี 6) มุจลินท์: หน้าบันทิศตะวันตกของพระวิหาร และ 7) ราชายตนะ: พระมหาสถูปเจดีย์ ตามลำดับ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน. (2554). ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสิริวัฒนภักดี.
จีราวรรณ แสงเพชร์. (2558). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2558 วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). สัตตมหาสถาน: พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2489). เที่ยวเมืองพะม่า. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. (2552). สมุดภาพพระปฐมสมโพธิกถา: วรรณคดีพระพุทธศาสนาพากย์ไทยคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระจอมเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. (2470). ตำนานพระสายน์วัดสระปทุม. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์. (2549). การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Travis C, McDonald. (1995). Understanding Old Buildings: The Process of Architectural Investigation. Washington: Department of the Interior, National Park Service