แนวทางการออกแบบช่องแสงและอุปกรณ์บังแดดของห้องเรียนทิศตะวันตกเพื่อใช้แสงธรรมชาติตามกฎกระทรวง

Main Article Content

โสพิศ ชัยชนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบช่องแสงและอุปกรณ์บังแดดของห้องเรียนทิศตะวันตกที่เหมาะสมด้านคุณภาพของแสงสว่าง การใช้พลังงาน และผ่านเงื่อนไขการชดเชยไฟฟ้าแสงสว่างตามกฎกระทรวง ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พื้นที่กระจกหน้าต่างต่อพื้นที่ผนังทึบ (WWR) และระยะยื่นของอุปกรณ์บังแดด ประเมินผลโดยพิจารณาค่าความสม่ำเสมอของความส่องสว่าง (Uo) เฉลี่ย และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนัง (OTTV) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ WWR 40 อุปกรณ์บังแดดยื่น 1.00 เมตร เป็นรูปแบบที่ทำให้ค่า Uo และค่า OTTV ผ่านเกณฑ์ แต่รูปแบบดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการชดเชยตามกฎกระทรวง รูปแบบ WWR 30 อุปกรณ์บังแดดยื่น 0.50 เมตร เป็นไปตามเงื่อนไข และมีค่า OTTV ผ่านเกณฑ์ แต่มีค่า Uo เฉลี่ยไม่ผ่าน รูปแบบ WWR 40 อุปกรณ์บังแดดยื่น 0.50 เมตร หรือไม่มีอุปกรณ์บังแดด เป็นรูปแบบที่เป็นไปตามเงื่อนไข มีค่า Uo เฉลี่ยผ่านเกณฑ์ แต่มีค่า OTTV ไม่ผ่านเกณฑ์ กล่าวคือไม่มีรูปแบบที่ผ่านเกณฑ์ครบทั้ง 3 ด้าน ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกรณีที่จำเป็นต้องมีช่องแสงด้านทิศตะวันตก และอาจใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเกณฑ์หรือเงื่อนไขของกฎกระทรวงในอนาคต เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานและคุณภาพด้านแสงสว่างต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพลังงาน. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการคำนวณ และการรับรองผลการตรวจประเมินในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานแต่ละระบบ การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่าง ๆ ของอาคาร พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 315 ง (ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2564)

กระทรวงมหาดไทย. กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111, ตอนที่ 23 ก (ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2537)

จิณห์วรา อรัณย์ชนายุธ และ อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2564). แนวทางการใช้เกณฑ์การประเมินแสงธรรมชาติที่มีผลต่อนาฬิกาชีวิตในประเทศไทย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 18(1), 115-130.

ฉันทมน โพธิพิทักษ์. (2546). การศึกษารูปแบบของอุปกรณ์บังแดดและช่องแสงทางด้านข้าง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติภายในห้องเรียน. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภดารี กิตติวัฒนวณิช. (2564). การศึกษาแนวทางการออกแบบแสงสวางของหองปฏิบัติการสถาปัตยกรรม คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 15-30.

สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือแนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายในอาคาร. กรุุงเทพฯ: สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย

อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2557). ศักยภาพการลดการใช้พลังงานจากการใช้แสงธรรมชาติตามกฎกระทรวง. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, ปีที่ 11 (2), 37-52.

อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2563). แนวทางและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดแสงธรรมชาติสำหรับอาคารในประเทศไทย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 17(1), 103-119.

อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. (2565). การศึกษาการออกแบบร่วมกันระหว่างการวิเคราะห์แสงธรรมชาติแบบรายปีตามสภาพภูมิอากาศและการออกแบบแสงเพื่อนาฬิกาชีวภาพ. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 19(1), 21-40.

Borvontanajunya, K., & Varodompun, J. (2013). Integration of automatic daylight-dimming system with the design of an office building components for energy conservation. Built Environment Research Associates Conference IV, 2013. (pp. 113-119). Pathumthani: Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University.

Capeluto, Isaac Guedi. (2003). The influence of the urban environment on the availability of daylighting in office buildings in Israel. Building and Environment, 38, 745-752.

Joarder, M.A.R. & Price, A.D.F. (2012). Daylight simulation in architectural practice: shading design for hospitals in London. In Nilufar, F. (Ed.), International Seminar on Architecture: Education, Practice and Research (pp.436-451). Dhaka, Bangladesh

Leccese, F., Salvadori, G., Rocca, M., Buratti, C. & Belloni, E. (2020). A method to assess lighting quality in educational rooms using analytic hierarchy process. Building and Environment, 168. no 106501.

Tuaycharoen, N., Konisranukul, W., & Chaychom, W. (2011). Design and renovation of daylighting for energy conservation for university building: A case study of Faculty of Architecture, Naresuan University. The 2011 National Conference on Sustainable Community Development. (pp. 582-589). Khon Kaen: Khon Kaen University