การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนมือถือ สำหรับการอ่านแบบรูป 2 มิติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling ; BIM) กับความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality ; AR) สำหรับช่วยสนับสนุนการอ่านแบบรูป 2 มิติจากกระดาษ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้อย่างแพร่หลาย แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องประสิทธิการสื่อสารระหว่างทีมที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้จินตนาการและทักษะเชิงพื้นที่แปลงจากรูป 2 มิติเป็น 3 มิติ โดยใช้ Autodesk Revit ในการสร้างและเพิ่มเติมข้อมูลในแบบจำลองกับการใช้แอพพลิเคชั่น Augin ในการนำเสนอรูปแบบความเป็นจริงเสริม โดยมีการประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตวิศวกรรมโยธา 75 คน โดยใช้บ้านพักอาศัย 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นกรณีศึกษา จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมและความเหมาะสมของ AR โดยการซ้อนทับแบบจำลองเสมือน 3 มิติบนกระดาษแบบรูป 2 มิติ ผลสรุปความพึงพอใจ 3 ลำดับแรก คือ 1) การแสดงสิ่งก่อสร้างในมุมมอง 3 มิติ 2) การแสดงข้อมูลรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของสิ่งก่อสร้าง3) การแสดงลำดับการก่อสร้าง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารในโครงการ และ 5) การแสดงตำแหน่งของสิ่งก่อสร้าง โดยคะแนนรวมเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.23/5)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ณัฐพร เขียวแก้ว, วิชัย คุ้มมณี, ศรยุทธ กิจพจน์, และจิราภร คุ้มมณี. (2563). การศึกษาการพัฒนาการนำเสนองานก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(AR).วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(1), 57-66.
ดุสิต ขาวเหลือง และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อการ เรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน.ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
มนตรี สังข์ทอง.(2557).หลักสถิติ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ละเอียด ศิลาน้อยและกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการ ศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University, 8(15), 112-126.
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.(2558). แนวทางการใช้งานแบบจําลองสารสนเทศอาคารสำหรับประเทศไทย (Thailand BIM Guideline) ฉบับปี พ.ศ. 2558. สำนักพิมพ์พลัสเพรส,หน้า 2-14
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.(2563). มาตรฐานการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BUILDING INFORMATION MODELING STANDARD) ตามแนวทางสภาวิชาชีพ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chatzopoulos, D., Bermejo, C., Huang, Z., & Hui, P. (2017). Mobile augmented reality survey: From where we are to where we go. IEEE Access, 5, 6917-6950.
Côté, S., Trudel, P., Snyder, R., & Gervais, R. (2013). An augmented reality tool for facilitating on-site interpretation of 2D construction drawings. Proceedings of the 13th International Conference on Construction Applications of Virtual Reality (CONVR) (pp. 316-323). London, UK
Nassereddine, H., Hanna, A. S., Veeramani, D., & Lotfallah, W. (2022). Augmented Reality in the Construction Industry: Use-Cases, Benefits, Obstacles, and Future Trends. Frontiers in Built Environment, 8, 730094.
Su, Y. C., Hsieh, Y. C., Lee, M. C., Li, C. Y., & Lin, Y. C. (2013). Developing BIM-Based shop drawing automated system integrated with 2D barcode in construction. Proceedings of the Thirteenth East Asia-Pacific Conference on Structural Engineering and Construction (EASEC-13) (pp. B-3). Sapporo, Japan
Wen, J., Gheisari, M., Jain, S., Zhang, Y., & Minchin, R. E. (2021). Using Cloud-Based Augmented Reality to 3D-Enable the 2D Drawings of AISC Steel Sculpture: A Plan-Reading Educational Experiment. Journal of Civil Engineering Education, 147(3),1-11.
Yang, H. H., LEE, M. H., SIAO, F. C., & LIN, Y. C. (2013). Use of BIM for constructability analysis in construction. Proceedings of the Thirteenth East Asia-Pacific Conference on Structural Engineering and Construction (EASEC-13) (pp. 1-10). Sapporo, Japan
Zaki, T., & Khalil, C. (2015). QR-coded clash-free drawings: An integrated system of BIM and Augmented reality to improve construction project visualization. Proceedings of the ICSC15—The Canadian Society for Civil Engineering’s 5th International/11e Construction Specialty Conference, (pp. 187-1-10). Vancouver, BC, Canada
ออนไลน์
Augin. (2565). การใช้งานแอพพลิเคชั่น Augin. [ออนไลน์], ได้จาก https://augin.app/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565].
BIMserver.center. (2565). การใช้งานแอพพลิเคชั่น BIMserver.center. [ออนไลน์], ได้จาก https://bimserver.center/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565].
Gamma. (2565). การใช้งานแอพพลิเคชั่น Gamma. [ออนไลน์], ได้จาก https://gamma-ar.com/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565].
Sketchup. (2565). การใช้งานแอพพลิเคชั่น Sketchup viewer.[ออนไลน์], ได้จากhttps://www.sketchup.com/products/sketchup-viewer/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565].
Visual live. (2565). การใช้งานแอพพลิเคชั่น Visual live. [ออนไลน์], ได้จาก https://visuallive.com [สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565].
กลุ่มงานประมาณราคา สำนักงานออกแบบ สำนักการโยธากรุงเทพมหานคร. (2565). แบบบ้านยิ้มเพื่อประชาชนระยะที่ 3. [ออนไลน์], ได้จาก http://203.155.220.238/cdo/2020/index.php/[สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มกราคม 2565].
วันพิชิต แก้วทอง.(2565). แบบจำลอง BIM บ้านสร้ายสยาม [ออนไลน์], ได้จาก https://knowhowskill.com/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มกราคม 2565].