การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ กรณีศึกษาเทศบาล นครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Sontaya Ratanatip

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของเมือง รวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง โดยเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ให้เทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การลงสำรวจพื้นที่และการสังเกตในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 8 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเมืองมากที่สุด 3 ลำดับ สำนักการคลัง มากที่สุด จำนวน 13 ชั้นข้อมูล รองลงมาคือสำนักการประปา เทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 4 ชั้นข้อมูล และกรมที่ดิน 3 ชั้นข้อมูล การศึกษาการรวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ของเมือง พบว่า การเปรียบเทียบการปรับแก้และอัพเดทข้อมูลมากที่สุด 3 ลำดับ สำนักการคลังมากที่สุด จำนวน 9 คะแนน รองลงมาคือกรมที่ดิน จำนวน 8 คะแนน และกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักการประปา และกรมธนารักษ์ จำนวน 7 คะแนน การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง พบว่า วิธีการกำหนดค่า FAR และ OSR จะมีขอบเขตของการกำหนดค่า FAR และ OSR เพียงแค่ระดับพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า และระดับบล็อกอาคาร มีขอบเขตของการกำหนดมีขนาดที่เล็กกว่าที่ทางหน่วยงานการพัฒนาเมืองกำหนด และมีการศึกษาระดับพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า การเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ พบว่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านบริหารจัดการฐานข้อมูล Data Center เทศบาลนครนครราชสีมา ด้านการวางแผนและการดำเนินงานอนุรักษ์บริเวณพื้นที่เมืองเก่า และด้านการบริหารจัดการพื้นที่บูรณาการแบบองค์รวม และหน่วยงานระดับราชการพื้นที่ส่วนกลาง ทำให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย