การออกแบบกระเบื้องนูนต่ำประดับผนังที่มีแรงบันดาลใจจากลายเครื่องถ้วยเบญจรงค์ จัดเรียงลวดลายด้วยการแปลงเมตริกทางเรขาคณิต

Main Article Content

กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์
พิพัฒน์ จิตรอารีย์รักษ์

บทคัดย่อ

เครื่องถ้วยเบญจรงค์เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อสีขาว นำมาเขียนลวดลายลงบนผิวและลงสีจำนวน 5-8 สี ระยะแรกเริ่มมีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเอกลักษณ์และผูกพันกับคนไทย ได้รับความนิยมในการใช้งานทั้งจากลักษณะรูปทรง ลวดลาย และสีสัน ที่แตกต่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มีการสร้างสรรค์ลวดลายขึ้นใหม่ แต่ยังคงพยายามรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความสวยงาม ประณีตอ่อนช้อยของลายไทยโบราณ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ออกแบบลวดลายกระเบื้องนูนต่ำประดับผนัง ออกแบบวิธีต่อลายให้มีรูปแบบหลากหลาย และทดลองนำมาผลิตเป็นต้นแบบ ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ของลวดลายแบ่งได้เป็นกลุ่มลายเทพนม กลุ่มลายพรรณพฤกษา และกลุ่มลายช่องกระจก แบ่งเป็นลายหลักและลายลูกคั่น ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาลายหลักขึ้น 4 ลายและลายลูกคั่น 2 ลาย เมื่อนำมาจัดเรียงเฉพาะลายหลักด้วยการแปลงเมตริกทางเรขาคณิต ผลการจัดเรียงลายหลัก 1 ลาย สามารถจัดเรียงได้ทั้งสิ้น 10 รูปแบบ หลังจากนั้นนำมาสร้างต้นแบบและขึ้นรูปด้วยการทำแม่พิมพ์หล่อน้ำดิน ลายหลักใช้เคลือบสีขาว ลายลูกคั่นใช้เคลือบสีสันสดใส เผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัมพร หรรษมนตร์, และคณะ. (2546). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการจัดเรียง

ชิ้นงานผ้า. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ.

ดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์, และคณะ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมสำหรับจำลองการทอผ้าไหมมัดหมี่แบบ

หมี่รวดจากการถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี. 26 (7) ฉบับเสริม, 1264-1272.

ดอว์น เอฟ. รูนีย์ (2560). เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์

จำกัด.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2542). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ณัฏฐภัทร จันทวิช (2537). เครื่องถ้วยจีนที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระพงษ์ สุขสำราญ. (2561). ทฤษฎีกรุปเชิงพีชคณิต. พิมพ์ครั้งที่ 1.

พิพัฒน์ จิตรอารีย์รักษ์. (2561). ประวัติศาสตร์เซรามิกส์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ภุชชงค์ จันทวิช, ณัฏฐภัทร จันทวิช และ อดลุย์ หงส์จินตกุล. (2542). เครื่องถ้วยเบญรงค์และลายน้ำ

ทอง. กรุงเทพฯ : สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด.

สิขรินทร์ อยู่คง. (2563). คณิตศาสตร์ที่ซ้อนอยู่ในการปูพื้นกระเบื้อง (Tessellation). [ออนไลน์],

สืบค้นจาก

http://www.sikarinyookong.com/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83/ (8 กรกฎาคม 2564)

Albert, F., Gomis, J. M., Valor, M., & Valiente, J. M. (2004). Methodology for Graphic

Redesign Applied to Textile and Tile Pattern Design. Conference Paper in Lecture

Notes in Computer Science.

Aziz, N. M. A., & Embong, R. (2017). Mathematical Transformations and Songket

Patterns. ERS Spectrum (Educational Research Service): ERSS, 29,1-11.

Dabbour, L. M. (2012). Geometric proportions: The Underlying Structure of Design

Process for Islamic Geometric Patterns. Frontiers of Architectural Research, 1, 380–391.

Liu, Y., & Collins, R. T. (1998). Frieze and wallpaper symmetry groups classification

under affine and perspective distortion. Carnegie Mellon University, The Robotics Institute.