การวิเคราะห์พื้นที่สีเขียว โดยการประยุกต์ใช้ด้วยเครื่องมือสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านกลาง นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูน

Main Article Content

ศุภัชญา ปรัชญคุปต์

บทคัดย่อ

จากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้มีความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มมากขึ้น ที่ว่างในเมืองลดน้อยลง และยังส่งผลทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองมีจำกัดและขาดคุณภาพ การพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนจึงถูกให้ความสำคัญในแง่ของบทบาทที่จะช่วยลดและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวในเมืองอย่างยั่งยืน เทศบาลตำบลบ้านกลางเป็นชุมชนเมืองที่มีแนวโน้มการขยายตัวจากการเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ งานวิจัยนี้จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่สีเขียว โดยการประยุกต์ใช้ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)  ในการแปลผลข้อมูล การรวบรวมฐานข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่สีเขียว ได้ฐานข้อมูลเชิงปริมาณและด้านกายภาพเชิงแผนที่ สถานการณ์พื้นที่สีเขียวในปัจจุบันพบว่าเทศบาลตำบลบ้านกลางมีขนาดพื้นที่สีเขียวสาธารณะต่อจำนวนประชากรในพื้นที่มีค่าเท่ากับ 0.93 ตารางเมตรต่อคน ถือว่าต่ำเมื่อเทียบตามมาตรฐานพื้นที่สีเขียวในเมืองของประเทศไทย  และพบพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพสรุปได้เป็น 3 กรณี ได้แก่ 1)พื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์  2) พื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่ และ3)พื้นที่สีเขียวเศรษฐกิจของชุมชน


ผลการวิเคราะห์พื้นที่สีเขียวจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่าพื้นที่สีเขียวยั่งยืนที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ เพื่อเป็นการรักษาพื้นที่สีเขียวยั่งยืนในเมืองมีพื้นที่สีเขียวยั่งยืนทั้งหมด 1,671,000 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 8.71 ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ขนาดพื้นที่รวม 93,312.93264 ตารางเมตร มีศักยภาพเพียงพอที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะได้เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์  และพื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนที่มีศักยภาพสำหรับการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมส่วนมากกระจายตัวอยู่บริเวณทิศตะวันออกของตำบล เพื่อรองรับน้ำท่วมและสามารถเป็นแนวกันชนสำหรับนิคมอุตสาหกรรม พร้อมเสนอแนวทางการออกแบบพื้นที่สีเขียวในเมือง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2562). คู่มือการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco Champion. กรุงเทพฯ.

พรพิชชา นันตา. (2563) แนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียว ในเขตวัฒนา

กรุงเทพมหานคร. สาระศาสตร์ ฉบับที่ 4 (น. 908) กรุงเทพฯ:ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2555). คู่มือการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน. ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). [ออนไลน์]. คู่มือการจัดการพื้นที่สีเขียวชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน. [15 กุมภาพันธ์ 2564]. จากเว็บไซต์ : http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-07.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). [ออนไลน์]. มาตรฐานอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเมืองในประเทศไทย. [15 กุมภาพันธ์ 2564]. จากเว็บไซต์ : http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-01.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2564). คู่มือการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ.

John G. Kelcey. (1978). "The Green Environment of Inner Urban Areas". JOURNAL of Environmental Conservation. Vol. 5, No. 3 (Autumn 1978), pp. 197-203. Cambridge University Press.

William H. Claire. (1973). Handbook on Urban Planning. New York : Van Nostrand and Reinhold.