แนวทางป้องกันการเกิดอัคคีภัยบริเวณย่านเมืองเก่า: กรณีศึกษา เมืองเก่าสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอัคคีภัย เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางคมนาคม ที่ตั้งหัวปะปาดับเพลิง รัศมีการให้บริการของสถานีดับเพลิง การใช้ประโยชน์ของอาคาร ประเภทของอาคาร จำนวนชั้นของอาคาร วัสดุผนัง และความหนาแน่นของอาคาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัย โดยการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่า พื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 0.21 ตร.กม ร้อยละ 6.06 เสี่ยงมาก 0.63 ตร.กม ร้อยละ 17.99 เสี่ยงปานกลาง 0.90 ตร.กม ร้อยละ 25.61 และเสี่ยงน้อย 1.99 ตร.กม ร้อยละ 56.39 เห็นได้ว่า นอกเขตเมืองเก่ามีความเสี่ยงน้อย ในขณะพื้นที่เขตเมืองมีความเสี่ยงปานกลางถึงมากที่สุด พบบริเวณย่านการค้า พาณิชยกรรม และย่านชุมชนดังเดิม ซึ่งโครงสร้างอาคารใช้ประเภทไม้ที่เอื้อต่อการลุกไหม้ของไฟ และชุมชนบางแห่งรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ เนื่องจากเส้นทางเป็นตรอก ซอก ซอย จึงพบแนวทางการป้องกันการเกิดอัคคีภัย ได้แก่ 1) ก่อนเกิดภัย กำหนดนโยบาย มาตรการหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการควบคุมจัดวางผังเมือง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในชีวิตและทรัพย์สิน 2) ระหว่างเกิดภัย ควรมีข้อมูลวิชาการ แนวโน้มสถานการณ์ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ 3) หลังเกิดภัย ควรมีการปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค และวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือเกิดข้อกฎหมายขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างยั่งยืน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม