การสำรวจสภาพแวดล้อมเพื่อการป้องกันโรคแพร่ระบาด ภายในพื้นที่โถงพักคอยของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมโรคแพร่ระบาดและแนวคิดเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) สำรวจสภาพแวดล้อมที่ปรับตามเกณฑ์มาตรการควบคุมการแพร่กระจายโรค และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้งาน ภายในพื้นที่โถงพักคอยของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการปรับสภาพแวดล้อม และให้บริการแก่กลุ่มตัวอย่างการวิจัยที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เกิดคำถามการวิจัยว่าสภาพแวดล้อมที่ถูกปรับมีลักษณะเช่นไร และพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างไร
ผลการสำรวจพบว่าสถาบันฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขทุกประการ และมีการปรับที่นั่งเพื่อสร้างระยะห่าง แต่ยังคงมีที่นั่งแบบชิดกัน และจัดวางใหม่ ใน 4 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างได้เลือกที่นั่งแบบหันเข้าทางเดิน และเลือกตำแหน่งที่นั่งชิดกันมากที่สุด เนื่องจากเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปกครอง เพื่อลดการเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในพื้นที่สาธารณะ และนั่งในตำแหน่งที่ประสานกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก ส่งผลให้การสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดระยะห่าง ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มคนที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มนี้เท่าที่ควร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
อ้างอิงจากหนังสือ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). วันที่ผลิต: 3 เมษายน 2563. กรุงเทพฯ:
อ้างอิงจากวารสาร
Luke T. Curtis and Kalpana Patel. (2008). Nutritional and Environmental Approaches to Preventing and Treating Autism and Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD): A Review.The Journal of Alternative and Complementary Medicine, 83
อ้างอิงจากเว๊ปไซต์
กุลนิดา เต็มชวาลา,พญ. (มปก). 12 คำแนะนำสำหรับครูผู้สอน ในการดูแลเด็กสมาธิสั้น. [ออนไลน์]. ได้จากURL: https://www.nakornthon.com/article/detail [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564].
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก. [ออนไลน์]. ได้จากURL: www.happyhomeclinic.com/au22-autism-care-ot.html [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564].
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). เรียนรู้และเข้าใจ เด็กออทิสติก. [ออนไลน์]. ได้จากURL: https://www.happyhomeclinic.com/au06-understand.htm [สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 มกราคม 2565].
ประชาชาติธุรกิจ. (2563). ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ที่ WHO เพิ่งประกาศ คืออะไร สำคัญอย่างไร. [ออนไลน์]. ได้จากURL: www.prachachat.net/d-life/news-416434 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564].
Childcare. (2019). Adapting the Child Care Environment for Children with Special Needs. [Online]. Retrieved from
www.childcare.extension.org/adapting-the-child-care-environment-for-children-with-special-needs/ [accessed 2 February 2021].