การศึกษาทางเลือกในการลงทุนในงานฉาบปูนผนังอาคาร

Main Article Content

สุนันท์ มนต์แก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


     งานฉาบปูนโดยการใช้แรงงานคนเป็นหลักทำให้มีขั้นตอนในการทำงานและใช้เวลาค่อนข้างมาก เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงนำเครื่องพ่นปูนฉาบมาใช้ในการทำงาน อย่างไรก็ตามการนำเครื่องพ่นปูนฉาบมาใช้ทำงานยังขาดข้อมูลหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะผลิตภาพแรงงาน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทางเลือกในการลงทุนในงานฉาบปูน จากการศึกษาโครงการก่อสร้างอาคาร 2 โครงการในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า การใช้เครื่องพ่นปูนฉาบ มีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าการใช้แรงงานคน 2.33 เท่า ต้นทุนค่าแรงงานลดลงร้อยละ 18 และใช้เวลาในการทำงานลดลง ร้อยละ 48 นอกจากนั้น ยังพบว่า พื้นที่ฉาบปูนผนัง 3,750 ตารางเมตร หรือเวลาในการทำงาน 31.25 วัน ก็จะได้จุดคุ้มทุนในการซื้อเครื่องพ่นปูนฉาบ เครื่องพ่นปูนฉาบจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำงานก่อสร้าง สามารถลดต้นทุนค่าแรงงาน ลดระยะเวลาในการทำงาน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้ต้นทุนค่าแรงถูกลง เพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการนำเครื่องพ่นปูนฉาบมาใช้ในการทำงานควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในการใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ากับการลงทุน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภัทรพร พรเทพเกษมสันต์. (2554). การศึกษาการปรับปรุงผลิตภาพแรงงานของคนงานฉาบปูนโดยวิธีใช้แรงจูงใจ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วัชรินทร์ สุทธิวิริยะกุล และวรรณวิทย์ แต้มทอง.(2562). การศึกษาผลิตภาพในการก่อสร้างทาวน์โฮม 3 ชั้น. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 24,

-12 กรกฏาคม 2562.

วิสูตร จิระดำเกิง. (2546). การปรับปรุงผลผลิตงานก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1 ปทุมธานี: สำนักพิมพ์วรรณกวี.

วิจิตร ตันฑสุทธิ์, จรูญ มหิทราฟองกูล, ชูเวท ชาญสง่าเวช, และวันชัย ริจิรวนิช. (2543). การศึกษาการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ศิริลักษณ์ สุพงษ์. (2559). การประเมินค่าผลิตภาพงานฉาบปูนโดยใช้วิธีการประเมินหน้างานและวิธีการประเมินแบบ 5 นาที. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุนันท์ มนต์แก้ว และธวัชชัย นวเลิศปัญญา. (2557). ผลิตภาพแรงงานของงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19, 14-

พฤษภาคม 2557.

สุนันท์ มนต์แก้ว, ธวัชชัย นวเลิศปัญญา และ วรรณวิทย์ แต้มทอง. (2558). ผลกระทบของมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้างต่อผลิตภาพของงานฉาบปูนผนัง.

วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 8(1),79-91.

สุนันท์ มนต์แก้ว ธวัชชัย นวเลิศปัญญา และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (2558). ผลิตภาพแรงงานของงานฉาบปูนผนังภายนอกอาคาร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ, 25(2), 203-210.

สุนันท์ มนต์แก้ว และไพศาล สุขสม. (2561). การประเมินผลิตภาพแรงงานในงานฉาบปูนผนังภายในอาคาร. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(2),170-179.

Clarkson, H. Oglesby. Henry W. Parker and Gregory, A. Howell. (1989). Productivity Improvement in Construction. USA: Mc Graw – Hill.

Dewin, F.J. (1982). Construction Productivity. New York: Elsevier.

Kumar Y., Kumar G., Myneni S. and C.V.N. Sai C. (2013). Productivity Analysis of Small Construction Projects in India. Asian Journal of

Applied Sciences. 1(1),1-6.

Jarkas, A., and Bitar G. (2021). Factors Affecting Construction Labor Productivity in Kuwait. Journal of Construction Engineering and

Management. 138(7), 811-820

Jarkas, A., Kadri, C., and Younes, J. (2012). A Survey of Factors Influencing the Productivity of Construction Operatives in the State of Qatar.

International Journal of Construction Management. 12, 1-23.

Schenker. (2021). เครื่องพ่นปูนฉาบ. [ออนไลท์]. ได้จาก: www.schenker.co.th/products .[สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564].