กิจกรรมและปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

Main Article Content

Pornthip Kimnuan

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความนิยมกิจกรรมและปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ รูปแบบกิจกรรม และปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานของผู้สูงอายุทั้งในด้านขนาดพื้นที่ใช้สอย ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ จากนั้นทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในตำบลบางเป้า จำนวน 100 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจความนิยมทำกิจกรรม และปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความนิยมกิจกรรมในผู้สูงอายุ นิยมทำกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมการจำเป็นเพื่อมาทำงาน 2) ปัจจัยทางกายภาพด้านพื้นที่ใช้สอยโรงเรียนผู้สูงอายุปัจจุบันมีขนาดไม่เพียงพอต่อกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) ปัจจัยองค์ประกอบทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด คือ องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัย ประกอบด้วย ห้องน้ำมีอุปกรณ์เอื้อต่อการใช้งาน ทางลาดเอื้อในพื้นที่ต่างระดับ ตามลำดับ และองค์ประกอบอำนวยความสะดวกในการใช้งานและเข้าถึงพื้นที่ ประกอบด้วย ทางเดินภายในอาคารที่มีความกว้างเพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึงพื้นผิวต่างสัมผัสที่พื้นเอื้อประโยชน์ขณะสัญจร ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ” ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมกิจการผู้สูงอายุ สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. (2563). สถิติผู้สูงอายุ ปีพ.ศ. 2559 – 2563. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://dlink.me/rCvHg [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564].

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/926 [สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564].

ชฎาพร ประสพถิ่น และเอมอร พิทยายน. (2558). การใช้ประโยชน์พื้นที่ในอาคาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2555. Journal of Professional Routine to Research, 2015(2), 63-80

ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). ปรับเมืองเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ณัชศฬา หลงผาสุข. (2562). กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน. วารสารของวารวชิรสารการพยาบาล, 21(2), 67-72.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2557). คู่มือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการการจัดการความรู้ – อาคารสถานที่ ที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ.

เทศบาลตำบลบางเป้า จังหวัดตรัง. (2563). แผนการเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบางเป้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบางเป้า รุ่นที่ 1. ตรัง

ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม, สุปรียา หวังพัชรพล, ขวัญชัย กาแก้ว และสุพิชญา ศุภพิพัฒน์. (2560). Age-friendly Built Environments สุขตามวัย: สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บริษัท อี.ที. พับลิชชิง จำกัด.

นลินดา สุวรรณประสพ และนิจ ตันติศิรินทร์. (2563). การประเมินความเหมาะสมและแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุทางด้านกายภาพ: กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 17(1), 157-172.

นิลปัทม์ ศรีโสภาพ และเปรมยุดา ชมภูคำ. (2564). บทบาทของงานสถาปัตยกรรมต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองเสื่อม. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 3(2), 31-43.

ปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2535). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2552). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ใน ประเสริฐ อัสสันตชัย (บรรณาธิการ), ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ : ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2558). คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอาย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1614847949-577_0.PDF [สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564].

สุชน ยิ้มรัตนบวร. (2560). เสนอแนะการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพสำหรับผู้สูงอายุโครงการแบบบ้านยิ้มเพื่อประชาชนระยะที่ 3 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชา การคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 24(1). 50-64.

อลงกต ตังคะวานิช. (2563). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสื่งแวดล้อมศึกษา, 5(2), 28-35.

Department of Health. (2000).Care Homes for Older People National Minimum Standards and The Care Homes Regulations 2001. London: The United Kingdom for the Stationery Office.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.