การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อเสริมศักยภาพการออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะของกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี The creation of sportswear to enhance elderly jogging potential between 60-70 age

Main Article Content

dhea Khotradha

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อเสริมศักยภาพการออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะของกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสรีระศาสตร์ ด้านวัสดุสิ่งทอ ด้านการออกแบบและตัดเย็บเพื่อใช้สร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะ 2) สร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นอายุระหว่าง 60-70 ปี  3) ประเมินผลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี ณ สมาคมชมรมนักวิ่งแต้จิ๋ว เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน เพศชาย 30 คน และเพศหญิง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) ผลการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายของผู้สูงวัยคือ เสื้อคอกลมผ่าหน้าติดซิป วัสดุที่ใช้ผ้าโพลิเอสเตอร์ 90 เปอร์เซ็นต์ ทอผสมกับเส้นใยสแปนเด็กซ์ 10 เปอร์เซ็นต์ มีความยืดหยุ่น ไม่ย้วย สะดวกในการสวมใสเน้นความสบาย รูปแบบไม่ซับซ้อน มีลูกเล่นสวมใส่แล้วบุคลิกดีขึ้น มีลักษณะเข้ารูปแบบหลวม มีเสื้อคลุมกันแดด น้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย สีที่เลือกใช้เป็นสีเบสิค และตกแต่งด้วยแถบสีสะท้อนแสง ออกแบบชุดผู้ชาย 3 ชุด และผู้หญิง 3 ชุด นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระศาสตร์ ด้านวัสดุสิ่งทอ ด้านการออกแบบและการตัดเย็บ จำนวน 9 ท่าน ผู้ประเมินคัดเลือกให้เหลือชุดเพศชาย 1 ชุด และเพศหญิง 1 ชุด ได้ผลการคัดเลือกพบว่า เพศชาย ได้แบบที่ 1 และเพศหญิงได้แบบที่ 3 จึงนำไปสร้างต้นแบบจริงและนำไปประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก  และมีรายละเอียดแต่ละด้าน ดังนี้ (1) พฤติกรรมและทัศนคติที่มีต่อวัสดุสิ่งทอ แบบเพศชายและเพศหญิง อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ให้ความสำคัญด้านการใช้วัสดุที่เหมาะสมเป็นอันดับแรก รองลงมาของเพศชายคือ ด้านลักษณะและสมบัติของวัสดุ และน้อยที่สุดด้านการผสมผสานวัสดุ รองลงมาของเพศหญิงคือ ด้านการผสมผสานวัสดุ และน้อยที่สุดด้านลักษณะและสมบัติของวัสดุ (2) พฤติกรรมและทัศนคติต่อการออกแบบและตัดเย็บ แบบเพศชายและเพศหญิง อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ให้ความสำคัญด้านการผสมผสานรายละเอียดของแนวโน้มแฟชั่นลงบนชุดออกกำลังกายเป็นอันดับแรก รองลงมาของเพศชายคือ ด้านการผสมผสานและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการออกแบบและตัดเย็บ และน้อยที่สุดด้านรูปแบบ รูปทรงและเทคนิคการออกแบบและตัดเย็บ รองลงมาของเพศหญิงคือ ด้านรูปแบบ รูปทรงและเทคนิคการออกแบบและตัดเย็บ และน้อยที่สุดด้านการผสมผสานและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการออกแบบและตัดเย็บ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ศรีสุกใส. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรี: กรณีศึกษา

จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

กมลพรรณ พันพึ่ง และ สุภาพันธุ์ เกตุคำ. (2560). เศรษฐกิจผู้สูงวัยกับนัยยะการพัฒนาด้านคนพิการในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.rs.mahidol.ac.th/ncpd-2017/2017/Full-Paper/009.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2562].

กาญจนธัช เทศรัตนวงศ์. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมและปัจจัยในการเลือกซื้อชุดกีฬาของผู้บริโภค ในเขต

กรุงเทพมหานคร. โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Twin Program) รุ่น 8 สาขาการตลาด

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). สุขกายกับวัยสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

ฐิติมา พุทธบูชา, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และ กาญจนา ลือพงษ. (2020). การออกแบบและพัฒนาเสื้อผา

แฟชั่นเพื่อสงเสริมสุขภาวะสําหรับสตรีสูงวัย. วารสารศิลปปริทัศน, คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 34-45.

ธีร์ โคตรถา. (2564). แนวทางการสร้างสรรค์กลุ่มสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปด้วยหลักการเทรนิคเมจิกแพทเทิร์นสำหรับตลาดผู้สูงอายุประเทศไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(2), 55-70.

บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด. (2008). ผู้บริโภคยึดติดชุดกีฬามีแบรนด์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.

marketingoops.com/reports/behaviors [สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม 2562].

เยาวภา ปฐมศิริกุล, โชติรัส ชวนิชย์, เริ่ม ใสแจ่ม และ รัฐพล สันสน. (2560). พฤติกรรมการซื้อและ

โอกาสการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าของลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศไทย.

วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 178-192.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มและบทวิเคราะห์ธุรกิจตลาดผู้สูงวัย. [ออนไลน์]. ได้จาก:

https://www.kasikornbank.com/th/business/sme [สืบค้นเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม 2562].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2020). 10 ท่าพื้นฐานยืดเหยียดร่างกาย. [ออนไลน์].

ได้จาก: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/6ec8b50c-3d27-e711-80dc- 00155dddb706?isSuccess=False [สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2563].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

ผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.thaihealth.or.th [สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 สิงหาคม 2562].

สุวรรณี วรุณโชติกุล และ ปาลิดา ศรีศรกำพล (2560) แนวทางในการเลือกซื้อชุดออกกำลังกายสำหรับ

ผู้ออกกำลังกาย ด้วยการเดินและการวิ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ

การตลาดและการจัดการโครงการปริญญาโท, 4(2), 105-116.

อัจฉรา จะนันท์, นฤมล ศราธพันธุ์ และ อภิญญา หิรัญวงษ์. (2016). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม

การบริโภคเสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้สูงอายุสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37(2), 178-187.

Bae, Sungwon & Miller, John. (2009). Consumer Decision-Making Styles for Sport Apparel

: Gender Comparisons between College Consumers. Journal of ICHPER-SD, 4(1), 40-45. [Online]. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=EJ903481 [accessed 4 September 2019].

Guzel, S. (2013). Clothes preferences and problems of consumers aged 65 and above.

The Macrotheme Review, 2(5). [Online]. Retrieved from http://www.facebook.com/

l.php?u=http%3A%2F%2Fmacrotheme.com%2Fyahoo_site_admin%2Fassets% 2Fdocs%2F1 4MR25Gu.22265009.pdf&h=PAQH-ioMq [accessed 4 September 2019].

Li, J. (2001). The research of sports clothing design (Order No. H007697). Available

from ProQuest Dissertations & Theses Global. (1027139269). [Online]. Retrieved from https://www.proquest.com/dissertations-theses/research-sports-clothing-design/docview/1027139269/se-2?accountid=32054 [accessed 5 September 2019].

Thomas, J. B. & Peters, C. L. O. (2009). Silver seniors Exploring the self-concept,

lifestyles, and Apparel consumption of women over age 65. International

Journal of retail & distribution management, 37(12), 1018-1040.

Weaver, Nina. (2019). One-piece pattern cutting: contoured active-wear. International

Journal of Fashion Design, Technology and Education, 12(3), 261-

[Online]. Retrieved from https://doi.org/10.1080/17543266.2019.1587790 [accessed 7 September 2019].