แนวทางการป้องกันความเสี่ยงอุทกภัยจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต กรณีศึกษาพื้นที่ลำน้ำมูล ส่วนที่ 3/5 Flood risk prevention guidelines from changing of land use in the future A Case Study Mun River past 3 Subbasin

Main Article Content

Natchanon Amatyakul

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการป้องกันความเสี่ยงอุทกภัยและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต กรณีศึกษาพื้นที่ลำน้ำมูล ส่วนที่ 3/5 ซึ่งในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการเติบโตและขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2551 - 2569 ศึกษารูปแบบและทิศทางการเกิดอุทกภัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย


จากการศึกษา พบว่า การตั้งถิ่นฐานเชิงพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีแนวโน้มการพัฒนาพื้นที่ชุมชนในอนาคตมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาในรูปแบบเส้นตรง จะเห็นได้ชัดเจนบริเวณถนนชยางกูร ถนนแจ้งสนิท และบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรม เบล็ดเตล็ดและป่าไม้ในบริเวณเมืองลดลงและยังมีการรุกล้ำบริเวณพื้นที่รับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากที่ส่งผลให้กีดขวางทางน้ำ เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำและเกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมือง จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยมาเสนอแนะเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออนุรักษ์พื้นที่รับน้ำควบคู่กับพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายตัวจากพื้นที่เมืองเดิมได้ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ไม่เหมาะสมต่อการขยายตัวเมือง จำกัดการพัฒนาปานกลาง จำกัดการพัฒนาเล็กน้อย และ เหมาะสมต่อการพัฒนาเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก อำภา. (2549). แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่หน่วงน้ำฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 [ออนไลน์]. ได้จาก http://122.155.1.143/upload/download/file_ attach/55acacb4f1f7c.pdf [สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2563].

ธงชัย พรรสวัสดิ์.( 2538). คู่มือการออกแบบระบบระบายน้ำเสียและน้ำฝน. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ธงชัย โรจนกนันท์. (2554). ภัยพิบัติบทเรียนราคาแพงจากภาคใต้ปี 2554. สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะกรมโยธาธิการและผงัเมือง ผู้ประสานงานด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงประจำกระทรวงมหาดไทย

ธิดาภัทร อนุชาญ. (2562). การวิเคราะห์ความเสี่ยงพื้นที่น้ำท่วมโดยใช้การประเมินวิธีสร้างแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมที่เหมาะสมที่สุด บริเวณลุ่มน้ำย่อยคลองนาทวี จังหวัดสงขลา ภาคใต้ของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา

ปุณยนุช รุธิรโก และคณะ. (2557). การจัดทำประมวลภาพจำลองสามมิติและภาพจำลองเหตุการณ์เกิดอุทกภัยในแต่ละระดับในพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย). สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

มงคล ลิขิตขจรเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วนารัตน์ กรอิสรานุกูล และคณะ. (2556). โครงการแนวทางการวางแผนด้านผังเมืองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี งบประมาณ 2554.

สุจารี ผุดผาด. (2539). แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) . (2555). การดำเนินการด้านการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำและแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำชี (รายงานผลการวิจัย).สถาบันสารสนเทศทรพัยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กับบริษัท แอสดีคอน คอร์เปอเรชั่น จำกัด.

Patiwat Littidej. 2019. An Analysis of Build-Up Growth Impacts to Water Stream Line of Motorway-6 Project End Point in Muaeng District of Nakhon Ratchasima Province. Journal of science and technology Mahasarakham University.VOL 38(3).301-315. TCI1

Patiwat Littidej and Nutchanat Buasri. 2019. Built-Up Growth Impacts on Digital Elevation Model and Flood Risk Susceptibility Prediction in Muaeng District, Nakhon Ratchasima (Thailand). Water 2019, 11(7). ISI Q2 IF 2.524, Scopus Q1.