โครงการศึกษาเพื่อการออกแบบศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชุน กรณีศึกษา ชุมชนเมืองเตา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม The Study of Design Project on Community Historic Information Center Mueang Tao, Mueang Tao Subdistrict, Phayakkhaphum Phisai District, Maha Sarakham Province.

Main Article Content

Nattawat Jitsit

บทคัดย่อ

โครงการการศึกษาเพื่อออกแบบศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน ชุมชนเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นโครงการวิจัยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ประจำปีงบประมาณ 2563  มีวัตถุประสงค์ประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ผ่านทางการออกแบบศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ให้เป็นรูปธรรมตามหลักวิชาการ 2) เพื่อดำเนินการออกแบบและเขียนแบบสถาปัตยกรรมอาคารศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์บริเวณศาลเจ้าพ่อศรีนครเตา ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัย โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมและบูรณาการร่วมกับกระบวนการ PDCA โดยมีผลที่เกิดขึ้นจากโครงการดังนี้ 1) แนวทางการจัดแสดงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชุมชน 2) แบบสถาปัตยกรรมและหุ่นจำลอง อาคารศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนโดยมีผู้ร่วมโครงการ คือ คณะผู้วิจัย  นิสิต  ชุมชน และ ภาคีองค์กรภายนอก ได้แก่ หมู่บ้านเมืองเตา องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล สุดประเสริฐ. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน. สำนักงาน

โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. หน้า 7, กรุงเทพฯ.

ชัชวาล ทัตศิวัช. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action

Research-PAR): มิติใหม่ของรูปแบบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยรามคำแหงกรุงเทพฯ.

พันธ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุข

อาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐิณี กาญจนาภรณ์ และ ชนิดา ล้ำทวีไทศาล. (2564). พิพิธภัณฑ์ในบทบาทพื้นที่ทางสังคม.

กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ อาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

ดวงดีการพิมพ์.

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. บทความออนไลน์

สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2564. จาก https://www.ftpi.or.th/2015/2125

ศรีศักร วัลลิโภดม. ทัศนะนอกรีต: สังคม-วัฒนธรรมในวิถีการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมือง

โบราณ 2543, หน้า 36-52)

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล.

อมาวสี เถียรถาวร. (2532).เจ้าพ่อศรีนครเตา : บทบาทและความสำคัญของการถือผีในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาบ้านเมืองเตา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา. (2560). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ.2560 – 2562. องค์การบริหาร

ส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Anthony J.Catanese and Lames C. Snyder. (1979) Introduction to Urban Planning.

Robert Mcnulty. (1985). Cultural Tourism: Opportunities of Conservation Economic

Development in Conservation and Tourism. London: heritage trust.

Jirawan Sirivanichkul. (2018). Interpretation of a Local Museum in Thailand.

Faculty of Industrial Education and Technology, MDPI. Sustainability 2018, 10, 2563. Basel, Switzerland

Heritage Saskatchewan and Museums Association of Saskatchewan. (2015).

Ecomuseum Concept A Saskatchewan Perspective on “Museums without Walls. Heritage Saskatchewan 200 - 2020 11th Avenue REGINA SK S4P 0J3