ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศกับรูปแบบของที่อยู่อาศัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศ และวัฒนธรรม กับรูปแบบของที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ในความหมายของที่อยู่อาศัย ภายใต้กรอบทฤษฎี โดยบทความนี้จะเป็นการศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อรูปแบบ และการก่อกำเนิดของบ้านของมนุษย์ในอดีต โดยศึกษาผ่าน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านสภาพอากาศ และวัฒนธรรม โดยทั้ง 2 ปัจจัยนี้มีอิทธิพลต่อรูปแบบของที่อยู่อาศัยต่างกัน โดยศึกษาผ่านหลักฐานการจดบันทึก ทฤษฎี และการเปรียบเทียบข้อมูล และจากการศึกษา ในเริ่มแรกมนุษย์โบราณสร้างที่อยู่อาศัยเนื่องจากปัจจัยด้านสภาพอากาศเป็นหลัก แต่หากปัจจัยด้านภาพอากาศคือปัจจัยที่สำคัญ ที่อยู่อาศัยนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศจากการย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีต มนุษย์เลือกที่จะนำรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่เคยใช้กับสภาพอากาศนึง นำใช้เป็นที่อยู่อาศัยในสภาพอากาศที่ต่างออกไป ซึ่งสามารถพบเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่ขัดแย้งกับสภาพอากาศได้ และในอีกสภาพอากาศที่ไม่ได้เลวร้ายนัก การอยู่อาศัยของมนุษย์ก็จะต่างออกไป รูปแบบของที่อยู่อาศัยก็เช่นกัน วัฒนธรรม กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของที่อยู่อาศัย มากกว่าสภาพอากาศ บทความนี้จึงมุ่งศึกษา เปรียบเทียบ และนำเสนอรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศ และวัฒนธรรรม ว่ามีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันอย่างไร จึงเป็นคำถามตั้งต้นสำหรับการศึกษา เพื่อสรุปความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกับความหมายของที่อยู่อาศัย
คำสำคัญ: รูปแบบของที่อยู่อาศัย, สภาพแวดล้อม, วัฒนธรรม, มนุษย์โบราณ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ญาณิกา อักษรนำ. (2558). พลวัตความหมายคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน. ปริญญาสังคมวิทยา และ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Marcus Vitruvius Pollio. (1914). Trans. Morris Hicky Morgan. The Ten Book on Architecture. London: Harvard University Press.
Joseph Rykwert. (1993). On Adam’s House in Paradise. London: The MIT Press.
Tony Atkin and Joseph Rykwert. (2005). Structure and Meaning in Human Settlement. Philadelphia: University of Pennsylvania Museum of Archaeology and Anthropology.
Marc Antoine Laugier. (2009). Trans. Wolfgang and Anni Herrmann. An Essay on Architecture. Los Angeles: Hennessey and Ingalls, Inc.
Amos Rapoport (1969). House Form and Culture. Cliffs: Prentice hall, Inc.
Martin Heidegger. (2013). Poetry, Language, Thought. New York: Harper and Row.
Paul Oliver. (2003). Dwelling the Vernacular House Worldwide. New York: Phaidon Press.
Paul Oliver. (1987). Dwelling the House Across the World. New York: Phaidon Press.
Dougles Fraser. (1968). Village Planning in The Primitive World. New York: George Braziller, Inc.
Lloyd Hahn and Bob Easton. (1973). Shelter. Hong Kong: Shelter Publications.