พืชพรรณในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเพื่อการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสำหรับวัด Plants in Buddhist Scriptures for Landscape Architectural Design in Buddhist Temple

Main Article Content

onumpai samkhuntod

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพืชพรรณในคัมภีร์พระพุทธศาสนา วิเคราะห์ด้วยหลักการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และเสนอแนะแนวทางการออกแบบพืชพรรณเพื่อการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสำหรับวัด โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณหลายชนิดในบริบทที่ต่างกัน สามารถวิเคราะห์จำแนกประเภทตามลักษณะกายภาพและความสัมพันธ์กับที่ว่างและการใช้งาน การเสนอแนะแนวทางการออกแบบพืชพรรณ แนวคิดในการออกแบบ ได้แก่ การใช้พืชพรรณตามประโยชน์ใช้สอย การเลือกชนิดพืชพรรณที่เป็นสัญลักษณ์ สอดคล้องกับข้อมูลในพระพุทธศาสนา และการดูแลรักษา รายละเอียดการออกแบบ ประกอบด้วย การเลือกใช้ชนิดพืชพรรณที่ปรากฏในพระไตรปิฎก การสร้างพื้นที่ใช้งานบริเวณโคนไม้ หรือให้มีลักษณะแบบป่า อุทยานหรือสวนป่า และการสร้างบริเวณที่มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์ ตลอดจนการใช้พืชพรรณเพื่อจัดแบ่งเขตการใช้ที่ดิน สร้างการรับรู้พื้นที่ จัดการเข้าถึง จัดการมุมมอง สร้างเอกลักษณ์ โดยจำเป็นที่จะต้องปรับหรือประยุกต์ผลการวิจัยให้สอดคล้องกับสถานที่แต่ละแห่ง เนื่องจากพืชพรรณแต่ละชนิดจะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2538). สวนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท อี เอส พี พริ้นท์ จำกัด.

จามรี อาระยานิมิตสกุล. (2558 ก). พืชพันธุ์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2558 ข). ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เต็ม สมิตินันทน์. (2547). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีระชัย ณ นคร. (2562). พุทธพฤกษ์ พรรณไม้ในพุทธประวัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

วสุ โปษยะนันทน์. (2558). “การจัดการภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมของวัดไทยให้เกิดความเจริญศรัทธา:จากอดีตสู่ปัจจุบัน”. รายงานการวิจัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2560). “ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภา

วะเชิงพุทธบูรณาการ”. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อรศรี งามวิทยาพงศ์ และคณะ. (2558). “ปัจจัยที่เอื้อต่อการฟื้นฟูบทบาทหน้าที่การพัฒนาจิตวิญญาณของวัดในเขตเมือง”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. โครงการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของเมืองเพื่อพลิกฟื้นสัปปายะและการเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณให้กับวัดทั่วประเทศ: สถาบันอาศรมศิลป์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อุษา กลิ่นหอม. (2561). สมุนไพรในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสุขภาพไทย.

เอื้อมพร วีสมหมาย, ศศิยา ศิริพานิช, อลิศรา มีนะกนิษฐ, ณัฏฐ พิชกรรม. (2542). พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย.

แสงอรุณ รัตกสิกร. (2542). แสงอรุณแห่งสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Eckbo, G. (1950). Landscape for Living. New York: Dodge.

Harris, C. W. & Dines, N. T. (1998). Time-Saver Standards for Landscape Architecture: Design and Construction Data. Second Edition. U.S.A.: McGraw-Hill.