การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรมของชุมชนจากไม้มะพร้าวและกะลามะพร้าว ชุมชนเกาะลัดอีแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

โสรัจ พฤฒิโกมล

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน ไม้มะพร้าว กะลามะพร้าว โดยใช้หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม โดยดึงทุนทางวัฒนธรรมและใช้วัตถุดิบที่มีภายในชุมชน เป็นกระบวนการพัฒนาทักษะเพิ่มองค์ความรู้ใหม่กับชุมชนในการสร้างผลิตภัณฑ์โดยนำทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน มาประยุกต์ ซึ่งในกระบวนการจะมีการระดมความคิดเพื่อหาเสน่ห์ อัตลักษณ์ และอบรมพัฒนาทักษะทางด้านการแปรรูปวัตถุดิบ การออกแบบ การผลิต ถ่ายทอดความรู้ทุกขั้นตอนจนนำไปสู่กระบวนการทางด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ช่วยให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก สร้างความมั่นคงให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวมภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อนำมาออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบประเมินผลของผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยผลจากการระดมความคิดชุมชน ชุมชนมีเอกลักษณ์ 3 สิ่ง คือ เรือสำเภา เป็นการนำคนชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากภายในชุมชน ส้มโอทองดี เป็นผลไม้มงคลมีปลูกมากที่สุดภายในชุมชน และองค์พระปฐมเจดีย์ โดยนำเอกลักษณ์ชุมชน 3 สิ่งมาพัฒนาการออกแบบ และจัดทำบรรจุภัณฑ์ สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ อบรมถ่ายทอดความรู้ การแปรรูปวัตถุดิบ หลักการออกแบบโดยดึงทุนทางวัฒนธรรม เทคนิคการใช้เครื่องมืองานช่าง กรรมวิธีในการผลิต และการตลาดออนไลน์ โดยผลสรุปให้ผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้แนะนำข้อดีข้อเสียของผลิตภัณฑ์ แนวทางการพัฒนา และสิ่งที่ชุมชนควรพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เมธี พิริยการนนท์ (2560) . รูปแบบการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบมีพลวัต เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561. จาก http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article1951_292.pdf

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2559) . การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม การอนุรักษ์ธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561. จาก http://www.chiangmaiworldheritage.net/detail_show.php?id=184&lang=

รสสุคนธ์ ปัญญาพงศ์วัฒน, ยุทธการ ไวยอาภา, วราภรณ์ ดวงแสง, และ มนสิชา อินทจักร. (2558). แนวคิดเกษตรกรรมที่ยั่งยืนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว วิถีเกษตร ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2561. จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/91930-%23%23default.genres.article%23%23-227581-1-10-20170706.pdf

วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ. (2547) . เส้นทางท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วาริน บุญญาพุทธิพงศ์, ธนสิทธิ์ จันทะรี, ขาม จาตุรงคกุล และรัตติกร ศิริขันธ์ บุตรลา. (2555) . สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิด ทุนสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี.