กระบวนการสร้างแนวความคิดในงานออกแบบจากอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยเพื่อผลลัพธ์ในรูปแนวความคิดสร้างสรรค์งานสมัยใหม่

Main Article Content

กุลภัสสรณ์ นางาม

บทคัดย่อ

การศึกษาเพื่อกระบวนการสร้างแนวความคิดในงานออกแบบโดยใช้ อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางเริ่มต้นนำไปสู่ผลลัพธ์ในรูปแบบของแนวความคิดสร้างสรรค์งานสมัยใหม่ที่ตอบรับกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยศึกษาจากข้อมูลด้านอัตลักษณ์ไทย นำมาวิเคราะห์และถ่ายทอดเป็นกระบวนการเพื่อนำไปใช้ในงานออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาและทำงาน ในสายวิชาการออกแบบ สถาปัตยกรรม งานสร้างสรรค์ เป็นแนวทางสร้างแรงบันดาลใจ แนวคิด ต่อยอดในงานออกแบบ และสายงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นการสร้างความตระหนัก ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทย ตอบรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 จนถึงแผนพัฒนาฉบับที่ 10  ในแง่มุมของการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจจากทุนทางวัฒนธรรม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยสามารถนำมาสร้างให้เกิดรูปแบบแนวคิดสร้างสรรค์งานสมัยใหม่ได้ โดยผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ พัฒนา และถ่ายทอดตามกระบวนการอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน สามารถสื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการนี้ได้โดยง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานออกแบบสร้างสรรค์ได้ในที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปวิจัย : สร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วัฒนาพร เขื่อนสุวรรณ. (2547). หลักการทัศนศิลป์. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://watkadarin.com/E-(new)1/index.htm [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2564].

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการ ออกแบบและวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชาติ จันอุไรรัตน์. (2551). สไตล์ในงานดีไซน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด

คนภาคเหนือ. ได้จาก http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm [สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564 ]