แนวทางการออกแบบเลขนศิลป์บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ภายใต้แนวคิดการออกแบบที่ไม่ระบุเพศ

Main Article Content

สุชาดา คันธารส

บทคัดย่อ

การเติบโตของธุรกิจเครื่องสำอางในประเทศไทยมีการขยายตัวสูง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในปัจจุบันนั้นถูกผลิตมาเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งหญิงและชาย เป็นกระแสนิยมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมของคนสมัยใหม่ ซึ่งยอมรับความแตกต่างทางเพศ โดยเน้นการเข้าถึงง่ายแบบไม่ใช่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรือที่เรียกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีความไม่ระบุเพศ ซึ่งเนื้อหาในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลการประเมินและวิเคราะห์การรับรู้ที่ไม่ระบุเพศขององค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางไทย โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ มุ่งค้นหาความไม่ระบุเพศขององค์ประกอบในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากการสำรวจรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางไทยประเภทไม่แต่งสีผิว นำมากำหนดเป็นปัจจัยที่ศึกษาด้านเลขนศิลป์ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวอักษร ภาพประกอบ ลวดลายและสีสัน จำนวน 38 ปัจจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบประเมิน ประกอบภาพจำลองและชุดแผ่นสีระบบสีพีซีซีเอส มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลเพศหญิงและชายที่มีเพศสถานะสอดคล้อง อายุตั้งแต่ 21-30 ปี จำนวน 120 คน ผลการวิจัยครั้งนี้ได้แนะนำแนวทางการเลือกใช้ ตัวอักษร ภาพประกอบ ลวดลาย และสีสัน นำมาซึ่งข้อสรุปที่ใช้ในการออกแบบเครื่องสำอางไทยที่ไม่ระบุเพศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวิทย์ คงบุญรักษ์. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องสำอางเพศชาย.การศึกษาอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2556).The Principle of Typography.พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี : ไอดีซีฯ.

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนกรมส่งเสริมการส่งออก.

ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2557). ทฤษฎีความงาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ At4print Co.ltd.

บุญสืบ โสโสม. (2560). การคำนึงเรื่องเพศสภาพ:ประเด็นสำคัญสำหรับการปฏิบัติในคลินิกและ สถานพยาบาล.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เมษายน- 5 มิถุนายน 2560.

พิมลวรรณ พิทยานุกุล. (2560). เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายใช้ของผู้หญิงได้หรือไม่. [ออนไลน์]. ได้ จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/171/ผู้ชายใช้ เครื่องสำอางผู้หญิงได้หรือไม่/service-knowledge-article.php. [สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561].

มยุรี ภาคลำเจียก. (2558). รอบรู้บรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทจินดาสาส์นการพิมพ์ จำกัด.

สิริภัค ฤทธิ์น้ำคำ. (2554). ปัจจัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ กรณีศึกษา บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงในกลุ่มวัยรุ่น.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุภัทรา ประเสริฐสิทธิ์. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้า.การศึกษา อิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง.

สำนักงานส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง. [ออนไลน์]. ได้ จาก:https://www.sme.go.th/upload/mod_download/Bio_based_Cosmetics_5 yrplan.pdf. [สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561].

Nazia, S., Hossain, S. (2017). Understanding the Impact of Gender Neutral Communication on Brand Image Trend or Tool, Master Thesis, MSc in International Marketing & Brand Management Lund University School of Economics & Management.

อุษณีย์ จิตตะปาโลและนุตประวีณ์ เลิศกาญจนวัติ. (2540). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Magdalena, P. (2018). Gender by Design: Performativity and Consumer Packaging, Design and Culture, 10:3, 337-358.

Valdillez, K., (2012). Color and Brand Design for Multicultural Packaging, Graphic Communication Department, California Polytechnic State University.