การออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษาบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี การออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษาบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จุฑามาศ เถียรเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษาบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษาบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการกลุ่มบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี 2) แบบประเมินความคิดเห็นด้านการออกแบบตราสินค้า 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์


ผลการวิจัยพบว่า ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบตามขั้นตอน 1) ด้านผลิตภัณฑ์ต้นแบบในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้แก่แก้วมัค โดยผู้ประกอบการได้กำหนดโจทย์และแนวทางในการออกแบบ 2) ด้านการออกแบบตราสินค้า ผู้วิจัยได้ออกแบบตราสินค้า จำนวน 3 รูปแบบ และนำไปประเมินความคิดเห็นด้านการออกแบบตราสินค้า จากผู้ประกอบการกลุ่มบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน พบว่า รูปแบบที่ 3 มีผลคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ( =4.48, S.D.=0.55) 3) ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงสร้าง เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ขนาดอยู่ที่ 9.8X9.8X14.5 เซนติเมตร เน้นลวดลายกราฟิกที่บ่งบอกเรื่องราวความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ดอกบัวหลวง และเอกลักษณ์ของลวดลายเบญจรงค์ ได้แก่ ลายพิกุลทอง 4) ด้านการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากผู้ประกอบการกลุ่มบ้านเบญจรงค์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน พบว่าผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ ( =4.16, S.D.=0.50)


คำสำคัญ: ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, เบญจรงค์, ผู้ประกอบการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ.

คำนวย อภิปรัชญาสกุล. (2537). ระบบบรรจุภัณฑ์ในงานโลจิสติกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2557). GRAPHIC DESIGN THINKING: ก้าวข้ามการBrainstorm. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2547). เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภุชชงค์ จันทวิช. (2551). เครื่องถ้วยในเมืองไทย “เครื่องถ้วยเบญจรงค์”. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2558). รอบรู้บรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จินดาสาส์นการพิมพ์.

สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณพ์กับการส่งออก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packaging Design ออกแบบบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:วาดศิลป์.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2546). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Printed Media. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสวนสุนันทา.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. (2560). เที่ยวปทุมธานี PATHUM THNI. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์.. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.