The study of data compilation process by utilising Building Information Modeling (BIM) case study of : classroom building of Faculty of Architecture Rajamangala University of Srivijaya

Main Article Content

Rohana Waedolorh

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเก็บข้อมูลอาคารเรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร Building Information Modeling (BIM) เพื่อนำข้อมูลจำนวนครุภัณฑ์ตำแหน่งที่ตั้งภายในอาคารสู่แผนการบำรุงรักษา วิธีการดำเนินงานวิจัยโดย การสัมภาษณ์ความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล กำหนดขอบเขตการเก็บข้อมูลจากสำรวจพื้นที่บริเวณผังพื้นชั้น 1 และการเก็บข้อมูลจากแบบก่อสร้างอาคาร ตามแนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับประเทศไทย ผลการดำเนินงานวิจัยดังกล่าว พบว่าการจัดเตรียมข้อมูลการสร้างแบบจำลองจากแบบก่อสร้างยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากแบบดังกล่าวไม่ได้ถูกแยกหมวดหมู่ตามมาตรฐานของการทำงาน BIM & Classification อีกทั้งข้อมูลกายภาพจากการสำรวจพื้นที่ไม่ตรงกับแบบ จึงทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้นการจำลองข้อมูลอาคารเรียนควรวางแผนการใช้เทคโนโลยี BIM เป็นเครื่องมือในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมจนสิ้นสุดกระบวนการ เพราะข้อมูลต่างๆ จะถูกพัฒนาเนื้อหารายละเอียดให้มีความละเอียดและสอดคล้องกับแผนการทำงาน ในกรณีอาคารสร้างเสร็จแล้ว การทำงานในบางขั้นตอนสามารถปฏิบัติตามแนวทางได้ แต่ในบางขั้นตอนก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากข้ามกระบวนการขั้นตอนแล้ว จึงทำได้เพียงการจัดระเบียบข้อมูลครุภัณฑ์และคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดเก็บข้อมูลอาคารเป็นแบบก่อสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยี BIM ควรมุ่งเน้นถึงวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลการทำงานเป็นหลักเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
Waedolorh, R. (2022). The study of data compilation process by utilising Building Information Modeling (BIM) case study of : classroom building of Faculty of Architecture Rajamangala University of Srivijaya. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 4(1), 115–126. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/254461
บท
บทความวิจัย

References

ปัญญาพล จันทร์ดอน. (2557). การนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบ

อาคาร (M&E AS BUILT DRAWINGS) กรณีศึกษาโครงการ โรงแรมเวฟพัทยา. [ออนไลน์]. ได้

จาก: www.spu.ac.th/architecture/files/.../CM_56_014_ปัญญาพล-จันทร์ดอน.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2561].

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์. แนวทางการทำงานแบบจำลองสารสนเทศ

อาคาร ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2560 (Building Information Modeling Guide). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร.

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์. (2558). คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ แนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคาร สำหรับประเทศไทย (Thailand BIM Guideline) ฉบับปี พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พลัสเพรส จำกัด.

สำนักงบประมาณ. (2543). คู่มือการกำหนดหมายเลขพัสดุ. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.lertchaimaster.com/doc/number-pusadu.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2561].

สุภาวรรณ วะสัตย์. (2557). การสร้างสื่อการเรียนการสอนวิชาการใช้เครื่องใช้สำนักงานของนักศึกษาระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษมปีการศึกษา 2557. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://sites.google.com/site/elearningpmtech/wicay-nwatkrrm-khru- pi2557/hmwd-wicha-samay/nang-supha-wrrn-wa-saty [สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2561].

OCCS Development Committee Secretariat. (2017). OMNICLASS Table 23. [ออนไลน์].

ได้จาก: www.csiresources.org/standards/omniclass/standards-omniclass-about [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2561].

OCCS Development Committee Secretariat. (2017). Work Results - Table 22. [ออนไลน์]. ได้จาก: www.csiresources.org/standards/omniclass/standards-omniclass-about [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2561].