การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย The Potential Surface Analysis (PSA) for Cultural Ecotourism in Boonreung Sub-district Municipality, Chiang Khong District, Chiang Rai.

Main Article Content

ศมลวรรณ วรกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาถึงศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบุญเรืองที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของชุมชน และเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของคนในชุมชนบุญเรือง โดยใช้ศักยภาพเชิงพื้นที่เป็นกลยุทธ์หลัก ด้วยการสำรวจภาคสนาม รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สำหรับเครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสำรวจและแผนที่ ส่วนการวิเคราะห์ศักยภาพของเชิงพื้นที่ใช้เทคนิค Potential Analysis Surface (PSA)


            ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลตำบลบุญเรือง มีลักษณะเป็นชุมชนชนบท มีอัตลักษณ์ของชุมชนด้านการเกษตร พื้นที่ธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชนบุญเรือง ได้แก่ พื้นที่ป่าชุมชน  พื้นที่น้ำตกภูแกงและพื้นที่ริมลำห้วยภูแกง  พื้นที่วิถีชีวิตทางการเกษตร พื้นที่วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น พื้นที่ทางศาสนา สำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมมากที่สุด  คือ วัดบุญเรืองเหนือ ริมลำห้วยภูแกง บริเวณด้านล่างของน้ำตกภูแกง  พื้นที่ที่มีศักยภาพรองลงมา คือ วัดพระธาตุนางปุก วัดป่าอ้อบุญเรือง น้ำตกภูแกง พื้นที่ทางศาสนา  สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น พื้นที่วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม พื้นที่วิถีชีวิตทางการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ส่วนแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนบุญเรือง โดยใช้ศักยภาพเชิงพื้นที่เป็นกลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ  การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร การพัฒนาศูนย์สินค้าชุมชน  การพัฒนาศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และการพัฒนาชุมชน : หน้าบ้านน่ามอง ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงภพ เมฆพรรณโอภาส อำภา บัวระภา และธีรดา นามไห. (2563). การออกแบบพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความยั่งยืน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563, 41-51.

ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ชาญวิทย์ พงษ์ขวัญ และกฤษณะ แพทย์จะเกร็ง. (2551) การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่สำหรับการวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. Vol. 6, 47-56

ปรัชมาศ ลัญชานนท์. (2562). การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาชุมชนเกษตรในเขตเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 16(2), 133-153.

เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี. (2563). การท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2563, 13-26.

โยธาธิการและผังเมือง, กรม. (2551). โครงการศึกษาตัวแบบมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวางผังเมืองรวม. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรรณศิลป์ พีรพันธุ์. (2549). การวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาของพื้นที่: Potential Surface Analysis. แหล่งที่มา : http://pioneer.chula.ac.th/~pwannasi/psa.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557.

วรรณศิลป์ พีรพันธุ์. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์สำหรับการวางแผนภาคและเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2555). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

Bhatia, A.K. (1986). Tourism Development Principles and Practices. 4 th ed. New Delhi : Sterling Publishers Private.

Gunn, Clare A. and Var, Turgut. (2002). Tourism Planning: Basics, Concepts, Cases. Fourth edition (4 th ed.). New York : Taylor & Francis Books, Inc.

Delbecq, Andre L., Van de Ven, Andrew H. & Gustafson, Harold A. (1975). Group techniques for program planning: a guide to nominal group and delphi processes. Glenview, IL: Scott, Foresman and Company.

Department of Town and Country Planning. (2001). Criteria and Standards for Comprehensive Plan : Revised edition 2001. Bangkok.

Joseph De Chiara And Lee Koppelman. (1969). Planning Design Criteria. New York : Van Nostrand Reinhold Co. USA.

McHarg, Ian L. (1971). Design with Nature. USA: Doubleday/Natural History Press.