การประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการออกแบบสื่อทางมรดกทางวัฒนธรรม ชุมชนแกดำ มหาสารคาม

Main Article Content

Pondej Chaowarat

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยทุนมรดกทางวัฒนธรรมในด้านกระบวนการและประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการที่เกิดจากการประยุตก์ใช้แนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการรับสื่อของกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบและพัฒนาสื่อ ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้สื่อและปรับปรุง และขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และการประเมิน โดยมีผู้เข้าร่วมในกระบวนการประกอบด้วยผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มอาชีพ เด็กและเยาวชน ชาวชุมชน นิสิตในสาขานิเทศศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ เมื่อดำเนินตามกระบวนการแล้วพบว่าสื่อที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก โดยได้รับความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจและความสวยงาม กลุ่มเป้าหมายที่เข้าชมวิดีทัศน์สูงสุดคือ คนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เพศหญิง อายุระหว่าง 25-34 ปี โดยวิดีทัศน์ที่ได้รับความสนใจสูงสุดเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hasso Plattner, Christoph Meinel, และ Larry Leifer. (2011). Design Thinking: Understand, Improve, Apply. ใน Larry Leifer, Understanding Innovation. Berlin: Springer-Verlag.

Herbert A. Simon. (1969). The Sciences of the Artificial. Cambridge: MIT Press.

Robert H. McKim. (1973). Experiences in Visual Thinking. Cengage Learning.

Tim Brown, และ Jocelyn Wyatt. (3 Febuary 2022). Design Thinking for Social Innovation. เข้าถึงได้จาก Stanford Social Innovation Review: https://ssir.org/

กรมการปกครอง. (2562). ประกาศจำนวนประชากร. เข้าถึงได้จาก ระบบสถิติทางการทะเบียน: https://stat.bora.dopa.go.th

ทิศนา แขมมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). ใน ทิศนา แขมมณี, และ สร้อยสน สกลรัตน์, แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา (หน้า 1-12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผ่องพรรณ ตรียมงคลกูล, และ สุภาพ ฉัตราภรณ์. (2543). การออกแบบการวิจัย. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พลเดช เชาวรัตน์, เมธี พิริยการนนท์, และ ศุภธิดา สว่างแจ้ง. (2560). การนำแนวคิดการคิดอย่างนักออกแบบไปใช้ในการพัฒนาเมืองในประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 119-132.

รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี. (2562). การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาศาลาไผ่ขนาดเล็ก. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 31-47.

ลินจง โพชารี. (2560). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคาม.

วัญญา วิศาลาภรณ์. (ม.ป.ป.). การวิจัยทางการศึกษา: หลักการและแนวทางการปฏิบัติการ. กรุเทพฯ: ต้นอ้อแกมมี่.