การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตกแต่งที่พักอาศัย จากเศษผ้าย้อมคราม ที่สะท้อนอัตลักษณ์จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

Sasikarn Nartkosar

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของจังหวัดสกลนครที่สามารถนำสู่การประยุกต์ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์2.เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตกแต่งที่พักอาศัยโดยใช้เศษผ้าย้อมครามที่เหลือใช้ในชุมชนร่วมกับอัตลักษณ์จังหวัด วิธีการดำเนินการวิจัย คือศึกษาและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มทอผ้าครามมุกบ้านนาจานใหม่ พบว่า ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีความคล้ายคลึงกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และมีเศษผ้าย้อมครามที่เหลือจากการตัดเย็บเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยค้นหาอัตลักษณ์จังหวัดสกลนคร จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนที่อาศัยอยู่จังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน  สรุปได้ดังนี้ อัตลักษณ์ที่สื่อถึงจังหวัดสกลนครในแต่ละด้าน ได้แก่ ผ้าย้อมคราม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  โคขุนโพนยางคำ และประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง หลังจากนั้นนำมาออกแบบร่วมกับผลิตภัณฑ์ตกแต่งที่พักอาศัย โดยการนำเศษผ้าย้อมครามของชุมชนเข้ามาเป็นวัสดุหลัก สรุปแนวทางการออกแบบและคัดเลือกมาผลิตต้นแบบ โดยคำนึงถึงพื้นฐานความสามารถของชุมชนและข้อจำกัดของวัสดุเป็นหลัก หลังจากนั้นนำต้นแบบประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45


 

Article Details

บท
บทความวิจัย